ชาติพันธุ์ปะโอ
ปะโอ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต (Sino-Tibetan) กลุ่มย่อยธิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) ในกลุ่มกะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศเมียนมาร์ ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐฉาน มีประชากรมากเป็นอันดับสองในรัฐฉานจำนวนประมาณ 500,000 คน และมีอีกประมาณ 100,000 คน อาศัยอยูในเขตตะโถ่ง (Thaton) ในรัฐมอญตอนใต้ของเมียนมาร์ และมีบางส่วนอาศัยอยู่ในย่างกุ้งและมัณฑเลย์ ชาวปะโอจะถูกเรียกในภาษาพม่าว่า ต่องตู (Taungthu) และ ต่องสู (Taungsu) หรือ ตองสู (Tongsu) ในภาษาไตใหญ่ แต่พวกเขาจะเรียกตัวเองว่าเป็น ปะโอ
ปะโอในประเทศไทย
สันนิษฐานว่าปะโอมีการอพยพมาจากพม่าเข้ามาตั้งแต่ยุคสุโขทัยที่มีพระสงฆ์มาจากเมืองตะโถ่งเข้ามาทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทในประเทศไทยแถบภาคเหนือและภาคกลางซึ่งน่าจะเป็นพระสงฆ์ชาวปะโอและชาวมอญ นอกจากนี้ยังมีการเข้ามาในช่วงของการสู้รบในสมัยสงครามล้านนาระหว่างพม่าและพระเจ้ากาวิละที่รบชนะและมีการกวาดต้อนคนจากเมืองเชียงตุง สิบสองปันนา ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง และอีกกลุ่มที่อพยพมาจากรัฐฉาน พม่า และลาว นอกจากนี้ยังมีชาวปะโอที่เดินทางเข้ามาค้าขายและเดินทางไกลไปถึงอุบลราชธานีในภาคอีสานของไทยและตั้งถิ่นในบริเวณดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบันและถูกเรียกว่า “กุลาต่องสู”
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
หมวดหมู่: | ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน