ชาติพันธุ์ขมุ
ขมุ มีชื่อทางชาติพันธุ์วิทยาว่า “ออสโตรเอเซียติก” (Austroasiatic) เป็นกลุ่มชนดั้งเดิมในเอเชียอาคเนย์ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลมอญ-เขมร
ถิ่นฐาน
เดิมกลุ่มชาติพันธุ์ขมุเริ่มตั้งถิ่นฐานอยู๋ทางใต้ของประเทศจีนลงมา ส่วนมากจะอาศัยอยู๋ทางตอน เหนือของประเทศลาว และบางส่วนอาศัยอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยและเวียดนาม ต่อมาใน ปี ค.ศ.1975 บางส่วนมีการอพยพไปอยู่ในประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และแคนาดา
ประชากร
ในปี ค.ศ.1985 มีกลุ่มชาติพันธุ์ขมุอาศัยอยู่ในประเทศลาวประมาณ 389,694 คน ประเทศไทยมี ประมาณ 50,000 คน ในจีนมีประมาณ 2,000 คน และในเวียดนามมีประมาณ 32,000 คน รวมถึงคนที่อพยพไปอยู่ในอเมริกาเหนือประมาณ 3,000 คนและฝรั่งเศสประมาณ 750 คน ซึ่ง ในปัจจุบันมีจำนวนประชากรประมาณ 600,000-700,000 คน
กลุ่มชาติพันธุ์ขมุ
กลุ่มชาติพันธุ์ขมุมีกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆได้อย่างน้อย 27 กลุ่ม อาทิ ข่ามุ ข่าละเมด ข่าฮอก ข่าขัด ข่าวะ ข่าผู้น้อย ข่ากระเวน ข่าจ่อน ข่าดง ข่ากะเซ็ง ข่าสะลัง ข่านา ข่าแพ ข่าสามภู ข่าเกี่ยว และข่าเพน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ขมุในประเทศลาวเป็นกลุ่มย่อยได้ 6 กลุ่ม คือ ตะมอยยวนอยู่แถบตอนเหนือแม่น้ำทา ตะมอยเมอยู่แถบแขวงหลวงพระบาง ตะมอยอูอยู่แถบแขวงเชียงขวาง ตะมอยเจอยู่แถบภาคตะวันตกเฉียงเหนือของลาว ตะมอยเกวนอยู่รอบๆเมืองน้ำทา ตะมอยกรอง อยู่ตามแนวชายแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย
ขมุในประเทศไทย
น่าน ลำปาง แพร่และแม่ฮ่องสอนอีกเล็กน้อย โดยเฉพาะในจังหวัดน่านจะมีประชากรขมุมากกว่าพื้นที่อื่น อย่างไรก็ตามยังคงมีการสำรวจและพบว่ามีชาวขมุอาศัยอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดอุทัยธานี มีการอพยพเข้ามาหลายระลอก ดังนี้ ช่วงตามล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสที่ยึดและปกครองประเทศลาวก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวขมุเข้ามาอาศัยอยู่ในฝั่งไทยหรือสยามในอดีต เนื่องจากการหลบหนีจากการถูกเกณฑ์ไปเป็นไพร่พลแรงงานของราชการฝรั่งเศสและเจ้านายชั้นสูงของลาว การถูกบังคับข่มเหง การแย่งที่ดินทำกิน และการเก็บส่วย และ ช่วงของการกวาดต้อนผู้คนจากเวียงจัน ของลาวในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อครั้งยกทัพไปปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์จึงทำให้มีชาวขมุอาศัยอยู่แถบอุทัยธานีและกาญจนบุรี และชาวขมุบางส่วนอพยพข้ามแม่น้ำโขงสู่ประเทศไทยในยุคที่เป็นสยามเนื่องจากความต้องการแรงงาน โดยเฉพาะการเข้ามาเป็นแรงงานในการทำไม้ และบังคับช้างลากไม้ในยุคของการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส และการทำสนธิสัญญาบาวริ่ง พ.ศ.2398 ของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นอกจากนี้ยังมีขมุบางกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินมาแต่ดั้งเดิมในแถบชายแดน ไทย-ลาว ทางภาคเหนือมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งประชากรขมุนั้นมีข้อมูลของทาง ส่วนราชการที่สำรวจชาวขมุและรายงานว่าอาศัยอยู่ใน 5 จังหวัด 14 อำเภอ 47 หมู่บ้าน จำนวน 2,516 หลังคาเรือน ประชากรรวม 13,674 คน