ชุมชนชาติพันธุ์ลีซูบ้านเวียงกลาง
ชุมชนชาติพันธุ์ลีซูบ้านเวียงกลางตั้งอยุ่หมู่ที่ 21 ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ประวัติ
ชาวลีซูที่นี่อพยพมาจากบริเวณดอยหัวแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เนื่องจากเป็นชายแดนติดเขตพม่า ผู้คนจึงข้ามไปๆมาๆทำงานระหว่างไทยและพม่า ระยะหลังการที่ข้ามไปทำงานที่ประเทศพม่าเป็นไปได้อยากลำบากเพราะบางครั้งประเทศพม่าไม่ให้เข้าไปทำงาน หรือเวลาภายในประเทศพม่ามีปัญหาจะไม่ให้เข้าไปทำงาน ดังนั้นผู้คนที่อาศัยอยู่บนหัวแม่คำ จึงได้ย้ายประชากรลงมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเวียงกลาง ต.แม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย โดยครั้งแรกมีคนอพยพมาตั้งถิ่นฐานประมาณ 6 ครัวเรือน จากการนำของนายไฉ่โป้ วัชระคุณกร และนายอาปา แสนหลิ่ว หลังจากนั้นมีชาวลีซูทยอยอพยพลงมาเพิ่มเติ่มมากขึ้น เหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านเวียงกลางคือใช้ตามชื่อโรงเรียนเวียงกลางเป็นชื่อหมู่บ้าน ชาวลีซูที่บ้านเวียงกลางมีการนับถือศาสนาทั้งความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษซึ่งจะเป็นคนส่วนใหญ่ของชุมชน นอกจากนั้นมีครอบครัวที่นับถือ ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ มีวัดหนึ่งวัดคือวัดเวียงกลาง และภายในหมู่บ้านมีศาลเจ้า 1 ศาล ซึ่งเป็นศาลบรรพบุรุษ โดยจะมีมือหมือผะเป็นผู้ดูแลทำความสะอาดความเรียบร้อยต่างๆ ศาลเจ้าแห่งนี้ และทำพิธีกรรมต่างๆในหมู่บ้าน มือหมือผะประจำหมู่บ้านชื่อนายอาเล คูมือ เป็นมือหมือผะประจำหมู่บ้าน ซึ่งมาจากการคัดเลือกโดยมีพิธีกรรมการคัดเลือกจากศาลเจ้าเป็นผู้เลือกโดยวิธีการเลือกจะใช้ตัดท่อนไม้เล็กๆเอามาเสี่ยงทายในการคัดเลือกเป็นมือหมือผะ ซึ่งวิธีการจะทำการโยนคัดเลือกจำนวน 3 ครั้ง ถ้าโยนเสี่ยงทายเลือกโดยจะคัดเลือกผู้ชายชื่อคนไหนที่อยู่ในหมู่บ้านสมควรเป็นมือหมือผะโดยใช้วิธีการดังนี้ ประการแรกในการเสี่ยงทายจะโยนตัดท่อนไม้เพื่อคัดเลือกมือหมือผะจำนวน 3 ครั้ง ประการที่สองในการโยนตัวท่อนไม้นั้นจะมีวิธีการโยนถ้าโยนหงายหมด หรือคว่ำหมดจะไม่ได้ถูกการคัดเลือก และประการที่สามในการโยนตัวต้นไม้นั้นจะมีวิธีการโยนถ้าโยนหงาย 1 และ คว่ำ 1 ต่อครั้ง เป็นจำนวน 3 รอบจะได้เป็นมือหมือผะ ซึ่งการคัดเลือกมือหมือผะคนในชุมชนจะคัดเลือกผู้ชายในหมู่บ้านทั้งหมดยกเว้นเด็ก แล้วทำการเสี่ยงทายโดยเอ่ยชื่อผู้ชายที่อยู่ในหมู่บ้านถ้าผู้ได้เป็นนั้นจะอยู่ในกรณีที่ 3 การเป็นมือหมือผะนั้นต้องดำรงวาระอย่างน้อย 3 ปี ก็สามารถเปลี่ยนได้ หรือเปลี่ยนในกรณีมือหมือผะเสียชีวิตซึ่งสามารถที่จะเลือกมือหมือผะใหม่ได้
ประชากร
การประกอบอาชีพของคนในชุมชนมีอาชีพหลักคือการเกษตร จำนวน 65 ครัวเรือน จะมีการทำนา ปลูกข้าวโพด ข้าว สับปะรด ไม้ผล ยางพารา ขิง ถั่วเหลือง อาชีพค้าขายจำนวน 4 ครัวเรือนอาชีพทำสวนจำนวน 32 ครัวเรือน อาชีพรับจ้าง ขายแรงงานต่างประเทศ ซึ่งเป็นวัยแรงงานอายุประมาณ 30-40 ปี มีการย้ายถิ่นฐาน ไปใช้แรงงานที่ต่างประเทศ เช่น เกาหลี ไต้หวัน โดยไปทำงานโรงงาน และอาชีพรองคือช่างซ่อมรถ 3 ครัวเรือน อาชีพหัตถกรรมจักสาน 17 ครัวเรือน อาชีพเลี้ยงสัตว์ 46 ครัวเรือน อาชีพแปรรูปอาหาร หน่อไม้ดอง 54 ครัวเรือน ทางบ้านเวียงกลาง มีกลุ่มอาชีพเสริม มี 3 กลุ่มคือกลุ่มแปรรูปหน่อไม้ดอง มี 54 ครัวเรือน กลุ่มเย็บผ้า (เย็บพวกเสื้อ กางเกง หมวกลีซู ชุดลีซู ทำขายในหมู่บ้านและขายต่างหมู่บ้านที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู และตามช่วงงานเทศกาลต่างๆจะนำไปขายในช่วงเดือน มกราคมและช่วงตรุษจีน ราคาเฉพาะเสื้อลีซู ราคา 700 บาท และกางเกงราคา 220 บาท) และกลุ่มจักสานผู้สูงอายุ