ท่องเที่ยวบ้านแสนสุขชาติพันธุ์อาข่า
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชาติพันธุ์อาข่าบ้านแสนสุข
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชาติพันธุ์อาข่าบ้านแสนสุข
ข้อมูลเพิ่มเติม ประวัติชุมชนชาติพันธุ์อาข่าบ้านแสนสุข เอกลักษณ์และความโดดเด่นของชาติพันธุ์อาข่า กิจกรรมของชาติพันธุ์อาข่า ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์อาข่า แกลเลอรี่ชาติพันธุ์อาข่า หมวดหมู่: ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน
ความอร่อยและความพิเศษของชา ณ ชุมชนชาติพันธุ์อาข่าบ้านแสนสุขที่ไม่เหมือนใคร
ข้อมูลเพิ่มเติม ประวัติชุมชนชาติพันธุ์อาข่าบ้านแสนสุข เอกลักษณ์และความโดดเด่นของชาติพันธุ์อาข่า กิจกรรมของชาติพันธุ์อาข่า ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์อาข่า แกลเลอรี่ชาติพันธุ์อาข่า หมวดหมู่: ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประวัติชุมชนชาติพันธุ์ดาระอั้งบ้านห้วยจะนุ คอลเลคชั่นชาติพันธุ์ดาระอั้ง ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์ดาระอั้ง กิจกรรมชาติพันธุ์ดาระอั้ง หมวดหมู่: ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน
ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ลักษณะ และการจัดประเภทดนตรี ดนตรีของกลุ่มชาติติพันธุ์กะเหรี่ยงมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมชาติ การดำเนินวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนความเชื่อด้านต่างๆเป็นภูมิปัญญาที่สืบสานส่งผ่านมาจวบจน ปัจจุบันนี้บางสิ่งบางอย่างหายไปบางสิ่งบางอย่างพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยกาลเวลาด้วยความที่ประชากรชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีความหลากหลายแตกออกไปเป็นกลุ่มตามความเชื่อแต่สิ่งที่ยังคงความสามารถใช้ด้วยกันได้คือภาษาและดนตรี ดนตรีของกะเหรี่ยงมีลักษณะดนตรีตามชนิดเครื่องดนตรีและยังไม่นิยมนำมารวมวงการอย่างชัดเจน ดนตรีของกะเหรี่ยงออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) เตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องสายประเภทดีดเพื่อให้เกิดเสียง แล้วจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทพิณคอโค้งเตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีที่กลุ่มชาติติพันธุ์กะเหรี่ยงให้ความสำคัญ และเป็นที่นิยมมากสามารถเล่นได้ บรรเลงประกอบการขับร้องหรือเรียกว่า เตหน่ากู ปาซาวิ หมายถึง การร้องเพลงโดยมีการบรรเลงเตหน่ากู คลอประกอบการร้อง ไปด้วยกันปัจจุบันมีการพัฒนาเรื่องการตั้งเสียงให้เข้ากับระดับเสียงเครื่องดนตรีสากลเพื่อสามารถนำเตหน่ากู ไปบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากลหรือบรรเลงร่วมกับวงดนตรีสมัยนิยมจนได้รับความนิยมชื่นชอบ และกลับมาให้ ความสนใจฝึกหัดการอย่างแพร่หลายในกลุ่มเยาวชนกะเหรี่ยง เตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีที่มีลำตัว ทำจากไม้เนื้อแข็ง นิยมไม้ซ้อ โดยมีส่วนประกอบของเครื่องได้แก่ตัวเครื่องมีลักษณะเป็นกล่องเสียง ขนาดเฉพาะส่วนกล่องเสียงกว้างประมาณ 15 เซ็นติเมตร ยาว 32 เซ็นติเมตรและสูง 12 เซ็นติเมตร ส่วนคอเครื่องทำจากไม้ชนิดเดียวกัน กลับตัวเครื่อง ด้วยคอเครื่องจะมีลักษณะโค้งขายคันธนูชาวกะเหรี่ยงกล่าวว่าเป็นลักษณะโค้งงอคล้ายหลังของผู้สูงอายุ ส่วนคอเครื่องนี้จะเจาะรูสำหรับใส่ลูกบิดเรียงกันขึ้นไปสำหรับใส่สาย ได้ตั้งแต่ 7-12 รู ส่วนข้อเครื่องนี้จะมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดกว้างประมาณ 5 เซ็นติเมตร ยาว 56 …
ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย อาหาร ในชีวิตประจำวันของชาวกะเหรี่ยงในอดีตคือข้าวกับพริกและเกลือ ชาวกะเหรี่ยงนิยมบริโภคอาหารที่มีรสเผ็ดจัด เช่น น้ำพริก แกงเผ็ด แกงส้ม ชาวกะเหรี่ยงจะปลูกพริกไว้ตามไร่สำหรับไว้กินเอง และพริกของชาวกะเหรี่ยง จะขึ้นชื่อในความเผ็ดร้อนกว่าพริกไหนๆ เครื่องแกงหลักประกอบด้วย พริก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กะปิ (ปลาร้า) ตำให้เข้ากัน แต่ถ้าเป็นแกงเผ็ดจะใช้เนื้อสัตว์กับมะเขือเป็นส่วนประกอบ เนื้อสัตว์ที่ใช้ในการปรุงอาหารจะเป็นจำพวกสัตว์ที่ล่าได้จากป่า เช่น เก้ง กวาง ค่าง กระต่าย แย้ ฯลฯ ถ้าเป็นแกงส้มก็ใช้เครื่องแกงเดียวกัน แต่ไม่นิยมใส่เนื้อสัตว์ แต่ใช้ผักที่มีรสเปรี้ยว ได้แก่ ใบกระเจี๊ยบป่า มะเขือส้ม ฯลฯ เพื่อช่วยในการปรุงรสอาหาร ส่วนน้ำพริกของคนกะเหรี่ยงมีปลาร้าหรือคนกะเหรี่ยงเรียกว่ากะปิ เป็นเครื่องปรุงสำคัญ นำมาตำกับพริกปรุงรสด้วยเกลือ กินกับผักสด ผักต้ม หรือผักเสี้ยนดอง อาหารของชาวกะเหรี่ยงจะไม่ปรุงรสหวาน เพราะไม่มีน้ำตาลใช้ ชาวกะเหรี่ยงจะกินผลไม้ที่ปลูกอยู่ในสวนภายในบ้านหรือที่มีอยู่ตามไร่ เช่น กล้วย อ้อย ส้มโอ ฯลฯ ส่วนขนมหวานของชาวกะเหรี่ยงจะมีเพียงข้าวห่อที่กินเฉพาะในงานพิธีเรียกขวัญของชาวกะเหรี่ยง หรือที่เรียกว่าประเพณีกินข้าวห่อ …
ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย การแต่งกาย ชาวกะเหรี่ยงบ้านรวมมิตรนั้นปัจจุบันก็จะแต่งกายคล้ายคลึงคนพื้นราบทั่วไป ส่วนเครื่องแต่งกายประจำกลุ่มชาติพันธุ์นั้นจะนิยมใส่ในช่วงมีงานเทศกาลต่างๆ โดยผู้ชายนิยมใส่เสื้อแขนสั้น สีดำหรือแดง มีเชือกถักเป็นผู้รัดเอว สวมกางเกงสีดำขายาวแบบจีน ซึ่งเรียกว่า เตี่ยวสะดอ หรือบางครั้งก็สวมโสร่งแบบพม่า ใช้ผ้าโพกศีรษะสีต่างๆ แต่ในปัจจุบันกะเหรี่ยงผู้ชายหันมาสวมกางเกงขายาวแบบคนพื้นราบ ส่วนผู้หญิงซึ่งมีกฎข้อห้ามอยู่มาก จึงมีการแต่งกายที่แยกแยะออกไปอย่างชัดเจนระหว่างหญิงที่โสดและหญิงที่แต่งงานแล้ว แม่ถือประเพณีการแต่งกายอย่างเคร่งครัด โดยหญิงสาวโสดชาวกะเหรี่ยงมักจะสวมชุดกระโปรงทรงกระสอบสีขาว ลงไปถึงข้อเท้า เสื้อทรงกระบอก แขนสั้น คอเป็นรูปตัววี ถักด้ายสีแดงขลิบรอบคอเสื้อ พาลงไปถึงช่วงล่าง ระหว่างเอวจะทอด้วยผ้าสีแดงคาดเอาไว้คล้ายเข็มขัดส่วนใหญ่หญิงกะเหรี่ยงจะทอผ้าใช้เองโดยเครื่องมือแบบง่ายๆตามประเพณี หญิงชาวกะเหรี่ยงนิยมไว้ผมยาวทำเป็นมวยพันด้วยด้ายสีหรือโพกผ้าเป็นสีเดียวกันกับเสื้อและกระโปรง ใส่ต่างหูเป็นรูปกลมมีพู่ห้อย นิยมพันคอด้วยเส้นด้ายและสร้อยลูกปัด หญิงกะเหรี่ยงบางกลุ่มจะแต่งกายด้วยสีแดงทั้งชุด จึงเรียกตนเองว่ายาแดงส่วนหญิงชาวกะเหรี่ยงที่แต่งงานแล้วจะไม่แต่งชุดสีขาวแต่จะสวมเสื้อคอวีสีดำสั้นแค่เอวชายเสื้อด้านล่างเย็บด้วยสีประดับลูกเดือยหรือลูกปัดสีขาว เป็นรูปตารางหมากรุกหรือรูปสีขาวๆส่วนผ้าซิ่นสีแดงหรือลายอื่นๆยาวถึงข้อเท้าและโพกศีรษะ เช่นเดียวกับหญิงโสดทั่วไป การแต่งกายของหญิงชาวกะเหรี่ยงโดยส่วนใหญ่มักจะแต่งกายตามประเพณีของเผ่าพันธุ์โดยไม่เลือกเวลาหมายถึงหญิงสาวโสดของชาวกะเหรี่ยงหรือหญิงสาวที่แต่งงานแล้วก็จะต้องแต่งกายตามประเพณีที่ระบุแยกออกมาได้อย่างชัดเจนตลอดเวลาด้วยเหตุนี้จึงสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนระหว่างหญิงกะเหรี่ยงที่สุดกับผู้ที่แต่งงานแล้ว แม้กระทั่งเด็กผู้หญิงก็มักจะแต่งตัวตามแบบอย่างหญิงโสด คือชุดขาวพรหมจารี กะเหรี่ยงมักจะถือในเรื่องชู้สาว และความบริสุทธิ์ของหญิงสาวเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะในอดีตการได้เสียก่อนแต่งงานจึงถือเป็นความผิดที่โทษถึงขั้นไล่ออกไปจากหมู่บ้าน แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประวัติชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร แกลเลอรี่ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์กะเหรี่ยง หมวดหมู่: ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน | …
ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ชาวกะเหรี่ยง นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวกะเหรี่ยงจะปลูกฝ้ายเอง นำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สร้างลวดลายด้วยการทอ การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวกะเหรี่ยง จะถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอ แก่บุตรสาอายุ 12-15 ปี เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้สำหรับลวดลายผ้าทอของชาวกะเหรี่ยงนั้น มีเรื่องราวเล่าสืบมาว่าได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย แต่ลายที่นิยมนำมาทอ และปัก มี 4 ราย คือ โยห่อกือ เกอเป่เผลอ ฉุ่ยข่อลอ อีกลายหนึ่ง คือ ลายทีข่า ปัจจุบัน ยังมีลายที่นิยมทอ คือ เกอแนเดอ หรือลายรังผึ้ง และเซอกอพอหรือลายดอกมะเขือ การทอผ้า เป็นวิถีอีกอย่างหนึ่งของชาวกะเหรี่ยงที่สืบทอดกันมายาวนาน เด็กผู้หญิงจะเรียนรู้จากแม่ แต่ปัจจุบันนี้มีระบบโรงเรียน เด็กๆต้องไปโรงเรียน ดังนั้นในช่วงปิดเทอมเด็กๆจึงรวมกลุ่มกันมาเรียนการทอผ้าสีในการย้อมและของตกแต่งผ้าทอกะเหรี่ยง การย้อมผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ ใช้เปลือกไม้ …