ประเพณีและพิธีกรรมของชุมชนชาติพันธุ์ลาหู่บ้านผาเผือก
ชุมชนชาติพันธุ์ลาหู่บ้านผาเผือก ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พิธีกรรมในครอบครัวก่อนเข้าร่วมพิธีกรรมของหมู่บ้าน
1. ประเพณีกินข้าวใหม่ลาหู่ เป็นประเพณีพิธีกรรมหลักที่สำคัญมากของชาวลาหู่ในรอบหนึ่งปี มี 2 อย่างคือประเพณีกินข้าวใหม่ และกินวอหรือปีใหม่ลาหู่ ประเพณีกินข้าวใหม่นั้นถือเป็นการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพพระเจ้าอื่อซา โดยการนำพืชผักที่ปลูกในไร่นา เช่น ใช้ต้นข้าว ข้าวโพด ฟักทอง แตง เป็นต้น มาทำพิธีขอบคุณที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพเจ้าได้ช่วยดูแลให้พืชผักผลผลิตทางการเกษตรงอกงามได้ผลผลิตดี ทำให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขโดยมีการประกอบพิธีกรรมแค่วันเดียวเท่านั้นประเพณีพิธีกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี โดยกระบวนการขั้นตอนของพิธีกรรมมีดังนี้
1) มีการกำหนดวันโดยเป็นมติที่ประชุมหมู่บ้าน 2) เลี้ยงผีหมู่บ้าน (ทำพิธีที่ลานเต้นจะคึ) และสมัยก่อนต้องมีคนหนึ่งในหมู่บ้านที่ต้องออกหมูดำเพื่อประกอบพิธีกรรมและคนที่ออกหมูให้ทำพิธีนั้นสามารถขอแรงอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 คน ต้องไปใช้แรงที่คนออกหมูเพื่อประกอบพิธี แต่ในปัจจุบันนั้นนิยมเก็บเงินกันเพราะค่าแรงแพงขึ้นและคนมีเวลาน้อย จึงใช้วิธีเก็บเงินซื้อและไม่ต้องไปใช้แรงกับใคร
3) มีการปรับปรุงลานเต้นจะคึ และทำความสะอาด มีการนำหญ้ามาทำเป็นเชือกไปผูกไว้ทางเข้าหมู่บ้าน เชื่อว่าเป็นการป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามาหมู่บ้าน 4) ทุกคนในหมู่บ้านต้องไปเข้าร่วมพิธีในเวลาตอนเย็น
5) มีการเต้นจะคึล้อมรอบเป็นวงในลานกว้าง
6) คนที่เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมเรียกว่าแก่ลุป่า (ผู้นำศาสนา) บุคคลที่ชาวบ้านคารพนับถือเป็นบุคคลมีอำนาจสูงสุดในหมู่บ้าน
1) มีการกำหนดวันโดยเป็นมติที่ประชุมหมู่บ้าน 2) เลี้ยงผีหมู่บ้าน (ทำพิธีที่ลานเต้นจะคึ) และสมัยก่อนต้องมีคนหนึ่งในหมู่บ้านที่ต้องออกหมูดำเพื่อประกอบพิธีกรรมและคนที่ออกหมูให้ทำพิธีนั้นสามารถขอแรงอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 คน ต้องไปใช้แรงที่คนออกหมูเพื่อประกอบพิธี แต่ในปัจจุบันนั้นนิยมเก็บเงินกันเพราะค่าแรงแพงขึ้นและคนมีเวลาน้อย จึงใช้วิธีเก็บเงินซื้อและไม่ต้องไปใช้แรงกับใคร
3) มีการปรับปรุงลานเต้นจะคึ และทำความสะอาด มีการนำหญ้ามาทำเป็นเชือกไปผูกไว้ทางเข้าหมู่บ้าน เชื่อว่าเป็นการป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามาหมู่บ้าน 4) ทุกคนในหมู่บ้านต้องไปเข้าร่วมพิธีในเวลาตอนเย็น
5) มีการเต้นจะคึล้อมรอบเป็นวงในลานกว้าง
6) คนที่เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมเรียกว่าแก่ลุป่า (ผู้นำศาสนา) บุคคลที่ชาวบ้านคารพนับถือเป็นบุคคลมีอำนาจสูงสุดในหมู่บ้าน
2. ประเพณีเขาะจา (กินวอ) หรือปีใหม่ลาหู่ เป็นประเพณีที่สำคัญอีกประเพณีหนึ่งของชาวลาหู่ที่เป็นสื่อทางวัฒนธรรมที่สำคัญเนื่องจากทุกปีในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์และถึงต้นเดือนมีนาคมทุกปี ชาวลาหู่จะจัดงานพิธีเฉลิมฉลองปีใหม่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรในไร่นาเรียบร้อยแล้วและยังเป็นการที่ทำให้ลูกหลานที่ออกไปทำงาน เรียน หรืออยู่นอกหมู่บ้านได้กลับมารวมตัวกันพร้อมหน้าพร้อมตาภายในครอบครัวของทุกๆปี ประเพณีกินวอนั้นมีความสำคัญสูงสุดเหนือประเพณีทุกอย่างของลาหู่ เป็นพิธีกรรมปีใหม่ของชาวลาหู่และเป็นพิธีกรรมที่ใช้ระยะเวลารวมนานสุดประมาณ 1 เดือน จึงจะเสร็จพิธี มีการเต้นจะคึ 4 คืน 4 วัน และพิธีกรรมมีสองช่วง เชื่อว่า 4 วันแรกจะเป็นของผู้หญิง และ 4 วันหลังจะเป็นของผู้ชาย เรียกกันว่ากินวอน้อยช่วงกินวอน้อยนั้นห้ามผู้นำครอบครัวและผู้ชายไปนอนนอกหมู่บ้านโดยเด็ดขาด ยกเว้นติดราชการที่ไม่สามารถขาดได้ พิธีกรรมกินวอนั้นลาหู่เชื่อว่าเทพเจ้าอื่อซาจะลงมายังโลก พระเจ้าลาหู่มีนามว่า นาพือนาหวะ เป็นพิธีกรรมเฉลิมฉลองของชาวลาหู่ หลังจากที่ได้ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยมาทั้งปี แทบไม่มีเวลาพักผ่อน ช่วงปีใหม่กินวอลาหู่จะไม่ทำไร่ทำนาหรือทำงานใดๆ และห้ามนำต้นกล้วยและไม้ไผ่เข้าในหมู่บ้านโดยเด็ดขาด พิธีกรรมมีขั้นตอนการจัดงานดังนี้
1. กำหนดวันที่จะจัดพิธีกรรม (โดยดูวัน เวลา โดยผู้นำในหมู่บ้านและคนเฒ่าคนแก่)
2. เลี้ยงผีหมู่บ้าน (ทำพิธีที่ลานเต้นจะคึ) และจะมีคนหนึ่งในหมู่บ้านที่จะให้หมูดำ 1 ตัวเพื่อประกอบพิธีกรรมและคนที่ให้หมูดำนั้นสามารถขอแรงครัวเรือนละ 1 คน ในการไปช่วยทำงานได้ในไร่นา แต่ในปัจจุบันนั้นนิยมเก็บเงินกันเพราะค่าแรงแพงขึ้นและคนมีเวลาน้อย จึงใช้วิธีเก็บเงินซื้อและไม่ต้องไปใช้แรงกับใคร
3. มีการปรับปรุงลานเต้นจะคึ และทำความสะอาด มีการนำหญ้ามาทำเป็นเชือกไปผูกไว้ทางเข้าหมู่บ้าน เชื่อว่าเป็นการป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามาหมู่บ้าน
4. เลี้ยงผีครอบครัว
5. เตรียมข้าวเหนียวที่จะมาประกอบพิธีกรรม
6. มีการตำข้าวปุก เป็นเครื่องถวายเทพเจ้าอื่อซา
7. เต้นจะคึ 4 วัน 4 คืน
8. การดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านและที่เคารพนับถือ ในวันที่สองช่วงกินวอ ซึ่งทุกครัวเรือนจะรวมตัวไปบ้านที่ประกอบพิธีกรรมของแต่ละตระกูลและมีการรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่ และต้องแต่งชุดลาหู่เต็มรูปแบบเพราะเชื่อว่าวันที่ดำหัวนั้นจะมีเทพเจ้าอื่อซาลงมาและให้พรในวันดำหัว
9. หลังจากเสร็จพิธีกรรมกินวอใหญ่แล้วจะเว้นช่วงประมาณ
10 วัน จึงมีพิธีกรรมวอน้อยขึ้น 10. หลังจากเสร็จพิธีกินวอลงไป ก็จะเหลือพิธีไล่ผี ก่อนเตรียมเพาะปลูกในฤดูกาลใหม่
11. พิธีกรรมทั้งหมดจะมีผู้นำที่เรียกว่าแก่ลุป่า (ผู้นำศาสนา) เป็นผู้ดำเนินการประกอบพิธีกรรมต่างๆ
1. กำหนดวันที่จะจัดพิธีกรรม (โดยดูวัน เวลา โดยผู้นำในหมู่บ้านและคนเฒ่าคนแก่)
2. เลี้ยงผีหมู่บ้าน (ทำพิธีที่ลานเต้นจะคึ) และจะมีคนหนึ่งในหมู่บ้านที่จะให้หมูดำ 1 ตัวเพื่อประกอบพิธีกรรมและคนที่ให้หมูดำนั้นสามารถขอแรงครัวเรือนละ 1 คน ในการไปช่วยทำงานได้ในไร่นา แต่ในปัจจุบันนั้นนิยมเก็บเงินกันเพราะค่าแรงแพงขึ้นและคนมีเวลาน้อย จึงใช้วิธีเก็บเงินซื้อและไม่ต้องไปใช้แรงกับใคร
3. มีการปรับปรุงลานเต้นจะคึ และทำความสะอาด มีการนำหญ้ามาทำเป็นเชือกไปผูกไว้ทางเข้าหมู่บ้าน เชื่อว่าเป็นการป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามาหมู่บ้าน
4. เลี้ยงผีครอบครัว
5. เตรียมข้าวเหนียวที่จะมาประกอบพิธีกรรม
6. มีการตำข้าวปุก เป็นเครื่องถวายเทพเจ้าอื่อซา
7. เต้นจะคึ 4 วัน 4 คืน
8. การดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านและที่เคารพนับถือ ในวันที่สองช่วงกินวอ ซึ่งทุกครัวเรือนจะรวมตัวไปบ้านที่ประกอบพิธีกรรมของแต่ละตระกูลและมีการรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่ และต้องแต่งชุดลาหู่เต็มรูปแบบเพราะเชื่อว่าวันที่ดำหัวนั้นจะมีเทพเจ้าอื่อซาลงมาและให้พรในวันดำหัว
9. หลังจากเสร็จพิธีกรรมกินวอใหญ่แล้วจะเว้นช่วงประมาณ
10 วัน จึงมีพิธีกรรมวอน้อยขึ้น 10. หลังจากเสร็จพิธีกินวอลงไป ก็จะเหลือพิธีไล่ผี ก่อนเตรียมเพาะปลูกในฤดูกาลใหม่
11. พิธีกรรมทั้งหมดจะมีผู้นำที่เรียกว่าแก่ลุป่า (ผู้นำศาสนา) เป็นผู้ดำเนินการประกอบพิธีกรรมต่างๆ