ดนตรีและการละเล่นของชาติพันธุ์ขมุ
เครื่องดนตรีและการละเล่นของชาติพันธุ์ขมุ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
การละเล่นและเครื่องดนตรีชาติพันธุ์ขมุบ้านห้วยจ้อ ตำบลม่วงยาย
การละเล่นและเครื่องดนตรีชาติพันธุ์ขมุบ้านห้วยจ้อ ตำบลม่วงยาย การละเล่นและเครื่องดนตรีจะนิยมใช้ในการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว ในอดีตหนุ่มจะไปเที่ยวจีบสาวที่บ้านฝ่ายหญิงในขณะที่เดินทางมาถึงก็จะเป่าปี่ที่ทำด้วยไม้ไผ่เหี้ย (เป็นเครื่องดนตรีชนิดเดียวที่พบส่วนในอดีตนั้นจากการบอกเล่าของชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่นั้นขมุจะมีฆ้องเป็นอุปกรณ์ในการประกอบการละเล่น และประกอบพิธีกรรมต่างๆ ปัจจุบันไม่มีฆ้องในหมู่บ้านแล้วเพราะได้ขายกันไปหมด) และมีการเติม (ร้องขับทำนอง)ของขมุไปด้วยเป็นการเกี้ยวพาราสีหญิงสาว เมื่อถึงบ้านหญิงสาวในบ้านหญิงสาวแม่ฝ่ายหญิงก็จะมีการนำผ้าแดงมากั้นไว้ระหว่างห้องอื่นๆกับห้องของหญิงสาว พ่อแม่ของฝ่ายหญิงก็จะปล่อยให้หนุ่มสาวอยู่กันตามลำพัง
ปัจจุบันการเกี้ยวพาราสีดังกล่าวเหลือเพียงความทรงจำในอดีตของขมุเท่านั้น เพราะได้มีการรับเอาวัฒนธรรมของคนเมืองพื้นราบใกล้เคียงเข้ามาใช้แทน นอกจากจะใช้ปี่เป็นส่วนประกอบในการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวแล้วประเพณีการละเล่นของขมุจะเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ในขบวนการของพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งพบว่าในการทำพิธีกรรมต่างๆขมุจะมีการเลี้ยง และดื่มกินเหล้าอุ๊กัน ก็จะมีการเติม และปุ้งปี่ (เป่าปี่) กัน อดีตปี่และฆ้องยังเป็นเครื่องดนตรีที่ขมุใช้เป็นมโหรีในงานรื่นเริงต่างๆ เช่น การแต่งงาน การขึ้นบ้านใหม่ รวมทั้งการประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผี ขมุจะปุ้งปี่ ตีฆ้องและมีการเติมกัน ปัจจุบันประเพณีนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไป การเติมขมุก็พบน้อยลง จะพบก็มีเพียงแต่การเติมของขมุที่บันทึกเทปเสียงไว้แล้วเปิดฟังกันในกลุ่มคนเฒ่าคนแก่เมื่อยามว่างเท่านั้น ปุ้งปี่ก็มีเพียงไม่กี่คนที่ปุ้งได้
การแต่งกายของชุมชนชาติพันธุ์ขมุบ้านวังผา ตำบลท่าข้าม
การแต่งกายของชุมชนชาติพันธุ์ขมุบ้านวังผา ตำบลท่าข้าม ดนตรีของชาวขมุบ้านวังผานั้นอาจจะแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นเนื่องจากในวิถีชีวิตขมุในอดีตนั้นไม่ได้มีการละเล่นดนตรีที่มีลักษณะเป็นวงดนตรีแต่หากมีเครื่องคนตรีที่มีไว้ใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมเป็นหลัก อย่างไรก็ตามดนตรีของชาวขมุที่พบในชีวิตประจำวันคือ “การเติ่ม”หรือการขับลำนำภาษาขมุซึ่งจะเป็นการใช้สำหรับการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวสมัยก่อนจะมีเครื่องดนตรีประเภทปี่ประกอบโดยการเป่าปี่ที่ทำจากไม้ไผ่ ปัจจุบันการขับลำนำนี้เริ่มหาฟังได้ยากจากชุมชนเนื่องจากการเข้ามาของสื่อสมัยใหม่และวัฒนธรรมดนตรีกระแสหลักทำให้คนหนุ่มสาวขมุแทบจะไม่มีใครสืบสานต่อการขับลำนำดังกล่าว ในส่วนของเครื่องดนตรีนั้นขมุจะมีฆ้องและกลองสำหรับใช้ในการประกอบพิธีกรรมและงานสังสรรค์ในงานรื่นเริง คือมีการปุ้งปี่ตีฆ้องและการเติ่ม อย่างไรก็ตามแม้ว่าเครื่องดนตรีจะเริ่มเลือนหายไปจากชุมชนเพราะคนรุ่นใหม่ไม่นิยมที่จะสืบทอด แต่เราจะพบเครื่องดนตรีอย่างฆ้องและปี่ในพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีประจำปีของปางสี่และปางแปดซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ร่วมในการประกอบพิธีกรรมดังกล่าว นั่นหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีและการขับขานบทเพลงของขมุ