ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ลักษณะ และการจัดประเภทดนตรี ดนตรีของกลุ่มชาติติพันธุ์กะเหรี่ยงมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมชาติ การดำเนินวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนความเชื่อด้านต่างๆเป็นภูมิปัญญาที่สืบสานส่งผ่านมาจวบจน ปัจจุบันนี้บางสิ่งบางอย่างหายไปบางสิ่งบางอย่างพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยกาลเวลาด้วยความที่ประชากรชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีความหลากหลายแตกออกไปเป็นกลุ่มตามความเชื่อแต่สิ่งที่ยังคงความสามารถใช้ด้วยกันได้คือภาษาและดนตรี ดนตรีของกะเหรี่ยงมีลักษณะดนตรีตามชนิดเครื่องดนตรีและยังไม่นิยมนำมารวมวงการอย่างชัดเจน ดนตรีของกะเหรี่ยงออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1) เตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องสายประเภทดีดเพื่อให้เกิดเสียง แล้วจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทพิณคอโค้งเตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีที่กลุ่มชาติติพันธุ์กะเหรี่ยงให้ความสำคัญ และเป็นที่นิยมมากสามารถเล่นได้ บรรเลงประกอบการขับร้องหรือเรียกว่า เตหน่ากู ปาซาวิ หมายถึง การร้องเพลงโดยมีการบรรเลงเตหน่ากู คลอประกอบการร้อง ไปด้วยกันปัจจุบันมีการพัฒนาเรื่องการตั้งเสียงให้เข้ากับระดับเสียงเครื่องดนตรีสากลเพื่อสามารถนำเตหน่ากู ไปบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากลหรือบรรเลงร่วมกับวงดนตรีสมัยนิยมจนได้รับความนิยมชื่นชอบ และกลับมาให้ ความสนใจฝึกหัดการอย่างแพร่หลายในกลุ่มเยาวชนกะเหรี่ยง
เตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีที่มีลำตัว ทำจากไม้เนื้อแข็ง นิยมไม้ซ้อ โดยมีส่วนประกอบของเครื่องได้แก่ตัวเครื่องมีลักษณะเป็นกล่องเสียง ขนาดเฉพาะส่วนกล่องเสียงกว้างประมาณ 15 เซ็นติเมตร ยาว 32 เซ็นติเมตรและสูง 12 เซ็นติเมตร ส่วนคอเครื่องทำจากไม้ชนิดเดียวกัน กลับตัวเครื่อง ด้วยคอเครื่องจะมีลักษณะโค้งขายคันธนูชาวกะเหรี่ยงกล่าวว่าเป็นลักษณะโค้งงอคล้ายหลังของผู้สูงอายุ ส่วนคอเครื่องนี้จะเจาะรูสำหรับใส่ลูกบิดเรียงกันขึ้นไปสำหรับใส่สาย ได้ตั้งแต่ 7-12 รู ส่วนข้อเครื่องนี้จะมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดกว้างประมาณ 5 เซ็นติเมตร ยาว 56 เซ็นติเมตร ปลายด้านหนึ่งของคอเครื่องจะสอบเข้าไปในตัวเครื่องจากนั้นจะปิดด้วยแผ่นโลหะหรือหนังสัตว์ที่น่าแผ่นโลหะมีส่วนยื่นสายจำนวนเท่ากับจำนวนลูกบิด ในอดีตสายเตหน่กูทำจากวัสดุธรรมชาติเช่นเถาวัลย์เอ็นสัตว์ และมีพัฒนาการต่อมาเรื่อยๆ จนช่วงสมัยหนึ่งที่นิยมใช้สายเบรคจักรยานแต่ในปัจจุบันเริ่มหันมาใช้สายกีตาร์โปร่งแทน เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาซื้อง่าย นอกจากนี้เตหน่ากู ยังมีการติดตั้งภาคขยายเสียงเข้าไปภายในกล่องเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่ดังสำหรับแสดงที่ไหนที่กว้าง ซื้อบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นอื่นทั้งยังมีการปรับการตั้ง ระบบเสียงให้เข้ากับเครื่องดนตรีสากล โดยใช้วิธีการเทียบเสียงกับกีตาร์หรือเปียโนดังนั้นในปัจจุบัน เตหน่ากู ส่วนใหญ่ ซึ่งถูกออกแบบมาให้สามารถบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรี ได้ยาง ไม่ยากนักรายละเอียดชื่อเรียกส่วนประกอบต่างๆของเตหน่ากู ดังนี้ชื่อเรียกส่วนต่างๆ ของเตหน่ากู
1.ตัวเครื่อง/กล่องเสียงเรียกว่าเตหน่า
2.คอเครื่อง เรียกว่า กู/เกะกู
3.แผ่นโลหะหน้าเครื่องเรียกว่าอะโขเจ่อ
4.ลูกบิดเรียกว่า อาหน่าวี
5.สายของเตหน่ากู เรียกว่า อะปลี ระบบเสียงระบบเสียงของ เตหน่ากู ชนิดที่มีสายจำนวน 10 สาย การตั้งเสียงจะแบ่งสายออกเป็น 10 กลุ่ม สาย คือ 3 สายบนสุด ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเสียงเบส และสายส่วนล่างทั้ง 7 สาย ทำหน้าที่บรรเลงทำนองเพลง การตั้งสายเตหน่ากู ใน 3 สายแรก ที่เป็นเสียงเบสหรือเสียง แนว ประสาน เสียงต่ำนั้นสามารถปรับตั้งเสียง ได้ 3 รูปแบบ ตามแต่ละบทเพลง ในขณะที่ 7 สายด้านล่าง ซึ่งทำหน้าที่ดำเนินทำนองจะต้องตั้งเสียงคงที่เสมอวิธีการบรรเลง เตหน่ากูมีลักษณะการจัดวางเครื่องใช้กับการจับพิณหรือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดโดยทั่วไปสามารถยืนบรรเลงนั่งบรรเลงได้ ส่วนสำคัญในการบรรเลง คือการวางมือสำหรับดีดซึ่งเตหน่ากูนั้นจะบรรเลงพร้อมกันทั้งสองมือมือซ้ายจับแบบหลวมๆบริเวณคอเครื่องด้านบน จะใช้หัวแม่มือในการดีดสายในลักษณะเกี่ยวบีบลงมือขวาใช้นิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้นิ้วกลางหรือนิ้วนางเกี่ยวดีดสายขึ้น ลงตามทำนองคล้ายการเกากีต้าร์ ดังนั้นการใช้นิ้วมือขวาจะขึ้นอยู่กับทักษะการฝึก
2) เปอหน่าเนต หรือแตรเขาควาย เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องลม ตัวเครื่องดนตรีทำมาจากปลายส่วนของเขาสัตว์ควาย เจาะรูบริเวณส่วนกลางเพื่อใช้ลิ้นทำจากโลหะ การเป่าเปอหน่าเนต คนเป่าควรรู้จักเพลงก่อน โดยเนื้อเพลงจะเป็นความคิดที่ถ่ายทอดออกมาเป็นเสียง ลมที่เป่าลงไปในตัวเครื่องโดยมีเทคนิคการเล่นระดับเสียงและจังหวะโดยการรัวหรือดันลิ้น หากต้องการให้มีความสมบูรณ์จะต้องบรรเลงพร้อมกัน 5 เครื่องปกติแล้วการเป่าเปอหน่าเนต จะใช้สำหรับส่งสัญญาณในพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนาไม่นิยมนำมาเป่าเล่น ถือว่าเป็นหน้าที่สำหรับให้ฝ่ายชาย เป็นผู้บ่าวเท่านั้น เปอหน่าเนต ปิดเครื่องดนตรีที่ทำมาจากปลายเขาสัตว์ดังนั้นขนาดจะเป็นไปตามขนาดของเขาสัตว์ที่นำมาใช้ทำแต่ทั้งนี้ในปัจจุบันเขาควายเริ่มหายากจึงทำให้มีการประดิษฐ์วัสดุขึ้นมาทดแทนโดยใช้ไม้สักที่มีลักษณะโค้ง ผ่าครึ่งของ ท่อน ไม้ คว่านช่องกลาง ของไม้ออก จากนั้นให้นำมาประกบกันรักด้วยเชือกหวายหรือไหมในส่วนกลางของเครื่องเจาะช่องเพื่อติดลิ้นเครื่องโดยขนาดของเครื่องที่ วัดได้ขนาด ความยาวประมาณ 40 เซ็นติเมตร หรือเส้นผ่าศูนย์กลางของปลายด้านหนึ่ง 7 เซ็นติเมตร และปลายอีกด้านหนึ่ง 2 เซ็นติเมตรส่วนลิ้นของเครื่อง กว้าง 2 เซ็นติเมตรยาว 5 เซ็นติเมตร ยึดติดกับตัวเครื่องด้วยขี้ผึ้ง ระบบเสียงเสียงของ เปอหน่าเนต ไม้ที่วัดได้ มี 2 ระดับเสียงคือเมื่อเป่าโดยไม่ปิดรู และเมื่อปล่อยนิ้วหัวแม่มือหรือเปิดครูปลายด้านเล็ก การบรรเลงเปอหน่าเนต มีส่วนสำคัญหลักคือมือทั้งสองด้านที่ค่อยปิด เปิดเสียงและปากที่เป่าลมเข้าออกอย่างมีจังหวะ โดยให้นิ้วหัวแม่มือปิดรูที่ปลายด้านเล็กส่วนปลายด้านใหญ่ใช้ฝ่ามือค่อยปิดเปิดเพื่อให้เกิดจังหวะของเสียง