Month: June 2020

เครื่องดนตรีของชาติพันธุ์ไทเขิน

ข้อมูลเพิ่มเติม ประวัติชุมชนชาติพันธุ์ไทเขินบ้านเหล่าพัฒนา เอกลักษณ์และความโดดเด่นของชาติพันธุ์ไทเขินกิจกรรมของชาติพันธุ์ไทเขิน ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์ไทเขิน แกลเลอรี่ชาติพันธุ์ไทเขิน หมวดหมู่:  ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน | พิกัด

ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ

ชุมชนชาติพันธุ์ลัวะบ้านสันเจริญ ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย     ดนตรีมีบทบาทต่อวิถีชีวิตลัวะในงานประเพณี พิธีกรรมต่างๆทั้งงานมงคล งานรื่นเริง งานฉลอมฉลอง เนื่องจากคนลัวะเชื่อว่าดนตรีเป็นเสียงแห่งความสุข ดังนั้นหากมีการนำดนตรีเข้ามาในงานมงคลงานรื่นเริงจะช่วยให้งานนั้นมีความสุขมากขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการบรรเลงประกอบการขับร้อง “จ่ายปลั่ง” บ่งบอกแหล่งที่มาของคนโดยการแสดงออกผ่านสำเนียงการขับร้องที่แบ่งออกเป็น สิบสองปันนา และสำเนียงลุ่มน้ำโขง เป็นบทเพลงลัวะที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิตของคนลัวะได้อย่างชัดเจน ผ่านการบอกเล่าเรื่องในอดีต การเดินทางแนแสนไกล การหาเลี้ยงครอบครัว และความอดทนต่อความลำบากที่ผ่านมาในอดีตได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันการขับร้องเพลงจ่ายปลั่ง ไม่ค่อยพบได้ทั่วไป แต่ยังคงมีการฟื้นฟูทางวัฒนธรรมของลัวะอย่างต่อเนื่อง โดยนักดนตรี และคนในชุมชนที่ร่วมมือกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลัวะให้ยั่งยืน ส่งผลให้ปัจจุบันการขับร้องเพลงจ่ายปลั่ง ยังคงมีการขับร้องกันอย่างมีความสุขในชุมชน เครื่องดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ได้แก่ 1) เซาะ (สะล้อ)     เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องสาย ประเภทเครื่องสีเพื่อให้เกิดเสียงโดยการใช้ไม้สี สภาพโดยทั่วไปของเซาะ มีลักษณะทางกายภาพ และรายละเอียดของเครื่องคือสะล้อ ที่ใช้ในวัฒนธรรมล้านนา ขนาดของเซาะ ส่วนกะโหลกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 เซ็นติเมตร หนา 8 เซ็นติเมตร ส่วนทันทวน กว้าง 2 เซ็นติเมตร ยาว 70 …

ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ Read More »

อาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ

ชุมชนชาติพันธุ์ลัวะบ้านสันเจริญ ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ข้าวต้มไก่ฉีก อาหารของชุมชนชาติพันธุ์ลัวะ อาหารหลักของชาวลัวะ ในวิถีชีวิตประจำวันจะอู่บนพื้นฐานของวัตถุดิบจากแหล่งธรรมชาติแต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายลงมาอยู่ในพื้นที่ราบในปัจจุบันทำให้วิถีการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมอาหารก็ยังมีการรักษาไว้ในบางส่วน บางส่วนก็มีการประยุกต์ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทการเปลี่ยน อาหารหลักของชาวลัวะที่นิยมทำบริโภคกันเป็นประจำ คือ น้ำพริกถั่วดินใส่ขิง ข้าวต้มลั๊วไก่ฉีก น้ำพริก ผักลวก อาหารตามเทศกาล คือไส้อั่วหมู หรือเนื้อ ตำข้าวปุ๊ก จัดทำในช่วงเทศกาลปีใหม่ ผักกาดดองแห้งจะต้มใส่หมู ใช้ในงานเทศกาลมงคลต่างๆ เต้าหู้ยี้ (เจี้ยง) จะทำในฤดูหนาว เป็นต้น อาหารทางวัฒนธรรมที่ชาวลัวะถือว่าเป็นเมนูที่ต้องปรุงเพื่อบริโภคในงานต่างๆและรับรองแขกที่มาเยี่ยมเยือนคือข้าวต้มลัวะไก่ฉีก ซึ่งมีขั้นตอนวิธีการประกอบและปรุงดังนี้ วัตถุดิบ ประกอบด้วย ไก่กระดูกดำ 1 ตัว พริกขี้หนูตำละเอียด หอมเจียว ขิงสับ งา เกลือป่น พริกไทย ผักชีต้นหอม ใบสาระแหน่ ผักกาด น้ำเปล่า ข้าวจ้าว ผงปรุงรส โดยมีวิธีการทำดังนี้1.   นำข้าวจ้าวล้างให้สะอาดต้มกับน้ำเปล่าให้ท่วมข้าว พร้อมกับไก่2.   เมื่อน้ำเดือดสังเกตุดูข้าวและไก่ตักให้สุก ตักไก่ขึ้นมาพักไว้3.   ข้าวที่ต้มจนเดือดใส่ผักกาดลงไปพอให้ผักกาดสลดปิดไฟ4.   ฉีกเนื้อไก่เป็นฝอยๆ5.  …

อาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ Read More »

การแต่งกายของชุมชนชาติพันธุ์บีซู

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม ประวัติชุมชนชาติพันธุ์บีซูบ้านดอยชมภู คอลเลคชั่นชาติพันธุ์บีซู ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์บีซู กิจกรรมชาติพันธุ์บีซู หมวดหมู่: | ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน

เครื่องดนตรีของชุมชนชาติพันธุ์ลาหู่บ้านห้วยมาซาง

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประวัติชุมชนชาติพันธุ์ลาหู่บ้านห้วยมะซาง ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์ลาหู่ คอลเลคชั่นชาติพันธุ์ลาหู่ กิจกรรมชาติพันธุ์ลาหู่ หมวดหมู่:  ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน 

การแต่งกายของชุมชนชาติพันธุ์ลัวะ

ชุมชนชาติพันธุ์ลัวะบ้านสันเจริญ ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย การแต่งกายของชาติพันธุ์ของลัวะสามารถแบ่งออกเป็นสองแบบคือการแต่งกายในชีวิตประจำวันและการแต่งกายในพิธีกรรม การแต่งกายในชีวิตประจำวัน ผู้หญิง จะสวมเสื้อขาวแขนสั้นกุ๊นด้วยด้ายสี สีพื้นของผ้านุ่งเป็นสีดำมีลายคั่นเป็นแถบในแนวนอน ลายนี้ได้จากการมัดลายขนาดต่างๆ ที่เชิงผ้าด้านล่างเป็นแถบใหญ่ซึ่งมักเป็นสีแดงหรือสีชมพูเหลือบด้วยสี เหลือง ลายมัดนั้นเป็นสีน้ำเงินแซมขาว มี “ปอเต๊ะ” (ผ้าพันแขน) และ “ปอซวง” (ผ้าพันแข้ง) จะไว้ผมยาวทำเป็นมวยประดับด้วยปิ่นหรือขนเม่นและปล่อยปลายยาว ส่วนหญิงสูงอายุนิยมมวยผมต่ำแต่ไม่ทิ้งปลายแบบหญิงสาว นิยมสร้อยเงินเม็ดและลูกปัดสีแดง สีส้ม สีเหลืองหลายเส้นเป็นเครื่องประดับ มีต่างหู โดยเฉพาะนิยมต่างหูไหมพรมสีเหลืองแดงหรือส้มยาวจนถึงไหล่ หญิงส่วนใหญ่มี “สกุนลอง” คือกำไลฝ้ายเคลือบด้วยยางรักจำนวนหลายวง นอกจากนี้ยังมีกำไลแขนและกำไลข้อมือทำด้วยเงินอีกด้วย เครื่องใช้ประจำของหญิงอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไปคือกล้องยาเส้นและยังนิยมสะพายย่ามเวลาเดินทางอีกด้วย ส่วนผู้ชายนิยมสวมเสื้อยืด เสื้อเชิ้ต กางเกงขายาวแบบคนพื้นราบทั่วไป แต่ส่วนใหญ่สะพายย่ามเป็นประจำ การแต่งกายในพิธีกรรม ผู้หญิงแต่งกายเช่นเดียวกับในชีวิตประจำวัน แต่หากในพี่เลี้ยงผีฟ้าผ่า การแต่งงานและงานศพ จะสวมเสื้อสีดำทับลงบนเสื้อขาว เสื้อสีดำนี้มีลายสีแดงแนวตั้งที่ข้างลำตัวเย็บในลักษณะเดียวกับเสื้อขาว บางหมู่บ้านมีลายปักตั้งแต่เชิงด้านล่างขึ้นมา ด้านหน้าปล่อยว่างไว้สำหรับใส่สายสร้อยเครื่องประดับที่มีอยู่มาก ในการแต่งงานของหญิงที่นับถือพุทธหรือผีจะมีผ้าสีแดงเหลืองหรือขาวคลุมหน้า มือทั้งสองยึดที่มุมผ้าไว้ ส่วนหญิงที่นับถือคริสต์จะนิยมใช้ผ้าบางสีขาวคลุมหน้า ส่วนผู้ชายใส่เสื้อขาวแขนยาวทับเสื้อยืด กางเกงคล้ายกางเกงขาก๊วยสีขาว เหน็บมีดด้ามงานช้าไว้ข้างลำตัว โพกศีรษะด้วยผ้าสีแดงหรือสีชมพู หากเป็นเจ้าบ่ายที่นับถือพุทธหรือผีจะนุ่งผ้าคล้ายโจงกระเบนทับกางเกง และพันเอวด้วย “กะซี” …

การแต่งกายของชุมชนชาติพันธุ์ลัวะ Read More »

ดนตรีกับพิธีกรรมของชาวอิวเมี่ยน

ชุมชนชาติพันธุ์อิวเมี่ยนบ้านเล่าชีก๋วย ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในด้านดนตรี เครื่องดนตรีของเมี่ยนมีลักษณะเป็นการเล่นดนตรีแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โอกาสในการเล่นดนตรีของเมี่ยนค่อนข้างจำกัด คือ ดนตรีของเมี่ยนจะมีโอกาสนำออกมาเล่นได้ก็เฉพาะเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการดำเนินพิธีกรรมใหญ่ๆ หรือสำคัญๆ ตามตำราพิธีกรรมระบุไว้ว่าต้องใช้เครื่องดนตรีประกอบเท่านั้น เช่น การแต่งงาน พิธีบวช พิธีงานศพ พิธีกรรมดึงวิญญาณคนตายจากนรก (เชวตะหยั่ว) เป็นต้น และในบางพิธีกรรมเหล่านี้ การใช้เครื่องดนตรีร่วมประกอบพิธีกรรมยังไม่อาจใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภทอีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพิธีกรรม และคุณสมบัติของบุคคลที่เป็นเจ้าของพิธีกรรม เช่น ดนตรีประกอบพิธีกรรมแก่ผู้ตายที่ไม่เคยผ่านการบวชใหญ่ จะใช้ปี่ไม่ได้ หรือพีธีดึงวิญญาณคนตายขึ้นจากนรก จะใช้เครื่องดนตรีเพียงแค่ฉาบและกลองเท่านั้น นอกจากกรณีเพื่อเป็นส่วนประกอบทางพิธีกรรมดังกล่าวแล้วดนตรีของเมี่ยนไม่มีโอกาสส่งเสียงสำเนียงให้ผู้อื่นได้ยินอีกแม้แต่การฝึกซ้อม  การเล่นดนตรีประกอบพิธีกรรม จังหวะและทำนองของดนตรีจะเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนของพีธีกรรม หรือเหตุการณ์ในพิธีกรรม เช่น การแต่งงาน ขั้นตอนพิธีกรรมที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวทำพิธีไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ ไหว้ฟ้าดิน ดนตรีจะทำจังหวะและทำนองอย่างหนึ่ง การเชิญแขกเข้าโต๊ะรับประทานอาหาร หรือกำลังรับประทานอาหาร ดนตรีก็จะทำจังหวะที่แตกต่างกันไป ผู้เข้าใจจังหวะและทำนองดนตรีจะสามารถรู้เหตุการณ์ หรือขั้นตอนที่กำลังดำเนินอยู่ในพิธีกรรมนั้นได้ แม้มิได้เห็นด้วยตาก็ตาม เครื่องดนตรีของเมี่ยนยังไม่สามารถที่จะเอาออกมาเล่นเหมือนกับเผ่าอื่นได้ ต้องใช้สำหรับในพิธีกรรมเท่านั้น ดังนั้นเมี่ยนจึงไม่ค่อยจะมีการละเล่นที่โดดเด่นเหมือนกับเผ่าอื่น ขณะที่เครื่องเป่าจะมีปี่ หรือภาษาเมี่ยนเรียกว่า (จยัด) เมี่ยนมีปี่เพียง 1 ชนิด ทำด้วยทองแดง ทองเหลือง เจาะรูตามลักษณะของปี่โดยทั่วๆไปมีความยาว …

ดนตรีกับพิธีกรรมของชาวอิวเมี่ยน Read More »

ซือเปือ ลีซู ชาติพันธุ์ลีซู

ข้อมูลเพิ่มเติม ประวัติชุมชนชาติพันธุ์ลีซูบ้านเวียงกลาง เอกลักษณ์และความโดดเด่นของชาติพันธุ์ลีซูกิจกรรมของชาติพันธุ์ลีซู ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์ลีซู แกลเลอรี่ชาติพันธุ์ลีซู หมวดหมู่:  ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน | พิกัด

ปอยข้าวต้ม ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดง

ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดงบ้านห้วยเสือเฒ่า ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดงบ้านห้วยเสือเฒ่า ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ชุดประจำชาติพันธุ์ปะโอ

ข้อมูลเพิ่มเติม ประวัติชุมชนชาติพันธุ์ปะโอบ้านห้วยขาน เอกลักษณ์และความโดดเด่นของชาติพันธุ์ปะโอ กิจกรรมของชาติพันธุ์ปะโอ ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์ปะโอ แกลเลอรี่ชาติพันธุ์ปะโอ หมวดหมู่:  ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน