การแสดงกับชุมชนชาติพันธุ์บีซู

ชุมชนชาติพันธุ์บีซูบ้านดอยชมภู ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

เครื่องดนตรีและการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์บีซู

นอกจากพิธีกรรมต่างๆแล้วนั้น ชาวบีซูยังมีการสื่อสารผ่านสื่อพื้นบ้านที่เป็นการแสดงต่างๆ เช่น การฟ้อนรำ โดยมีการนำเอาเครื่องดนตรีมาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญลักษณะของเครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในวัฒนธรรมของบีซู แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือดนตรีที่ใช้สำหรับ แห่ครัวตาน และวงเพลงขับร้อง

1

วงดนตรีสำหรับแห่ครัวตาน

วงดนตรีสำหรับแห่ครัวตาน ชาบูเรียกชื่อวงประเภทนี้เช่นเดียวกับภาษาถิ่นทางภาคเหนือคำว่าวงแห่ครัวตาน หมายถึงวงดนตรีที่ใช้บรรเลงแห่สิ่งของเข้าวัดในประเพณีประจำปีวันสำคัญต่างๆและกิจกรรมตามความเชื่อของชุมชนวงแห่ครัวตานของกลุ่มชาติติพันธ์บีซูใช้เครื่องดนตรีในการบรรเลง และบทเพลงคล้ายกับการบรรเลงของวงแห่ครัวตานในภาคเหนือทั่วไป จำนวนเครื่องดนตรีขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดหาของชุมชนมีมากน้อยได้ไม่จำกัดโดยวงดนตรีของกลุ่มชาติติพันธ์บีซู บ้านดอนชมภูมีเครื่องดนตรีที่ใช้แห่ประกอบด้วย กลองมาน 3 ตัว กลองตัด 1 ตัว โบยง 3 ตัวแฉงแลง1 คู่ และโกโละ 2 คู่ บทเพลงที่ใช้ในการแห่ครัวตาน ของกลุ่มผลิตภัณฑ์บีซูไม่มีชื่อเรียกแต่จะเข้าใจกันเองตามจังหวะที่บรรเลง โดยแบ่งจังหวะการให้ออกเป็น 2 จังหวัดได้แก่จังหวะช้าจังหวะกลางและจะหมดเร็วมันเรียงกันไปตามลำดับ

2

วงขับร้อง

วงเพลงขับร้องเป็นวงดนตรีของบีซูที่สามารถสื่อความหมายแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์บีซูไว้ได้เป็นอย่างดี โดยมีบทเพลงที่ใช้การยอมรับว่าแสดงออกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาของกลุ่มชาติติพันธ์บีซูได้เป็นอย่างดีมากคือเพลงลาพี ซ่าทอ เพ่ง (เพลงลาบพริก) แต่งด้วย หนานมูล บ้านผาแดงนายมงคล เรืองศิริวัฒน์ และเพลง เผง หงู้ บา บี ซู ( เพลงมาพูดภาษาบิงซูกันเถอะ) ( ไม่ทราบผู้แต่ง) วงเพลงขับร้องเป็นวงดนตรีที่ใช้แสดงในงานแสดงทางวัฒนธรรมของบีซู โดยในวงจะประกอบด้วยนักร้องกลุ่มคละชายหญิง ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบได้แก่ซึง กรับ และกลองปุงโป๊ง เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงแห่ครัวตานและวงดนตรีประเภทขับร้อง เพลงของชาติติพันธ์บีซู เป็นเครื่องดนตรีลักษณะเดียวกันกับเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ เช่น ซิ้งหม่อง โหม่ง ฉาบ เป็นต้น แต่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันโดยเมื่อเครื่องดนตรีเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในวัฒนธรรมบีซู ซึ่งเรียกจึงเป็นชื่อบีซูโดยมีรายละเอียดของเครื่องดังนี้ “ซึง” เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องสาย ประเภทดีดเพื่อให้เกิดเสียงสำหรับซึงที่ใช้ประกอบการขับร้องเพลงของบีซู มีลักษณะทางกายภาพเช่นเดียวกันกับซึง ที่ใช้เล่นในวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคเหนือทั่วไป สามารถหาซื้อได้จากร้านขายเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนาทั่วไป ครั้งนี้ซึ่งที่จะนำมาใช้บรรเลงประกอบนั้นนิยมใช้ซึ่งขนาดเล็ก เนื่องจากมีระดับเสียงที่เหมาะสมกับระดับเสียงของคนและเพลงของบีซูมากกว่าซึ่งขนาดกลางหรือขนาดใหญ่วิธีการบรรเลงใช้ของสายสะพายเครื่องผ่าศีรษะโดยวางสายสะพายพาดไว้บนบ่าข้างซ้ายให้ปลายเครื่องชี้ไปทางด้านซ้ายมือ มือซ้ายทำ ได้ที่จัดสวนคอเครื่องโดยใช้ปลายนิ้วกดที่สายลงบนคอส่วนมือขวาให้จับ ไม้ดีด ดีดสายตามจังหวะเพลงโดยจะดีขึ้นและลงเป็นจังหวะเพลง “กลองมาน” จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องหนัง ประเภทรองหน้าเดียวเป็นกล่องที่ใช้ใน กิจกรรมประเพณีของคนบีซู โดยทั่วไปลักษณะของกลองมาน คล้ายกับกลองซิ้งม่อง คือมีระดับเสียงและขนาดใกล้เคียงกัน ลองมาน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้าเครื่องประมาณ 21 เซ็นติเมตรตัวเครื่องยาว 71 เซ็นติเมตรส่วนก้นกรองเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 21 เซนติเมตร ระบบเสียงของกลองมาน ขอบบิงซูใช้วิธีการคาดคะเนของเสียง ด้วยจะใช้ข้าวเหนียวจ่าหน้ากลองและตีให้ได้เสียง ป่ะ หรือให้หน้ากลองตึงพอให้ได้เสียงตามต้องการวิธีการบรรเลงใช้สะพายที่บ่าข้างใดข้างหนึ่งตีด้วยฝ่ามือหรือปลายนิ้ว “โกโละ”หรือกรับไม้ มีหน้าที่ใช้เคาะประกอบจังหวะ ตัวเครื่องทำจากท่อนไม้ไผ่ เป็นลักษณะของเสียง เจาะช่องด้านข้างเพื่อระบายสีเหลืองมีด้ามจับ การตีจะใช้ไม้ไผ่ท่อนเล็กตี โกโละ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซ็นติเมตรและกล่องเสียงยาว 30 เซนติเมตร วิธีการบรรเลงใช้ไม้เคาะกับตัวเครื่องบริเวณตรงกลางของส่วนหัวและส่วนท้ายเครื่องเพื่อให้เกิดเสียงตามจังหวัดที่ต้องการ นอกจากนี้ยังมีเครื่องประกอบจังหวะที่สามารถนำมาบรรเลงร่วมได้เช่น กลองสแนร์ เพื่อใช้บรรเลงตัดจังหวะ ชอบบีซูเรียกว่ากลองตัด โบยง หรือโหม่ง ใช้ขนาด 20 เซ็นติเมตรหรือ 8 นิ้ว หากมีหลายตัวให้ใช้ขนาดลดหลั่นกันไป แฉงแลง หรือฉาบ ใช้ขนาดประมาณ 25 เซ็นติเมตรหรือ 10 นิ้ว บทเพลง ที่มีความสำคัญและใช้เป็นหลักในประเพณีวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์บีซู แบ่งตามลักษณะของทำนองและเพลงที่ปรากฏมีดังนี้ “ทำนองเพลง แห่ครัวตาน” แบ่งเพลงออกตามบทบาทของกิจกรรมในประเพณีที่จัดขึ้นโดยมากมีอยู่ 3 บทเพลงได้แก่ เพลงสำหรับการฟ้อน เพลงแห่ครัวตานและเพลงแห่ทั่วไป ความแตกต่างของเพลงขึ้นอยู่กับอัตราความเร็วช้า เป็นสำคัญ เพลงสำหรับการฟ้อนจะบรรเลงช้า แห่ทั่วไปจังหวะปานกลาง และแห่ครัวตานจะเร็วขึ้น ซึ่งอัตราความเร็วช้าขึ้นอยู่กับสถานการณ์ขณะนั้นเป็นสำคัญ โดยรูปแบบจังหวะของเพลงแห่ครัวตานของบีซูมีลักษณะจังหวะ วนซ้ำจังหวะทำนองนี้ไปเรื่อยๆ หากมีโบยง จะตีเข้าจังหวะกับโหม่ง แต่ไม่นิยมเนื่องจากเสียงตีไม่ไพเราะ “เพลงลาพี ซ่าท่อ” หรือเพลงลาบพริก เป็นเพลงที่ชาวบีซู นิยมขับร้องเล่นกันงานประเพณีงานแสดงวัฒนธรรมอย่างเป็นประจำเนื้อหาของเพลงเป็นการกล่าวถึงการทำอาหารประเภทลาบหมูของบีซู เพลงลาพี ซ่าท่อ เพ่ง นี้แต่งโดยหนานมูล บ้านผาแดง (นายมงคล เรื่องศิริวัฒน์) “เพลงเผง หงู้ บา บี ซู” เป็นเพลงที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อรณรงค์ให้คนบีซูหันกลับมาให้ความสำคัญกับภาษาของตนเองให้มากขึ้น เนื้อเพลงรวมเป็นการกล่าวชักชวนให้คนกับมาพูดภาษาบีซูกันมากๆ