ประเพณีพิธีกรรมชาวกะเหรี่ยง
ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านดอยฮาง-ยางคำนุ ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง ลักษณะ ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรมเดิมชาวกะเหรี่ยงนับถือผี มีการบวงสรวงและเซ่นไหว้อย่างเคร่งครัด ภายหลังหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญหรือการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการเซ่นเจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชนให้อุดหนุนค้ำจูน ช่วยให้กิจการงานนั้นๆ เจริญก้าวหน้า ทำเกษตรกรรมได้ผลผลิตดี ให้อยู่เย็นเป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล และยังเป็นการขอขมาอีกด้วย ประเพณีที่สำคัญในรอบปีของชาวกะเหรี่ยงยางคำนุ อาทิ ประเพณีเรียกขวัญเด็ก (มกราคม-ธันวาคม) ประเพณีเรียกขวัญผู้สูงอายุ (มกราคม-ธันวาคม) ประเพณีเรียกขวัญสัตว์เลี้ยง (กุมภาพันธ์-กรกฎาคม) ประเพณีผูกข้อมือ (กุมภาพันธ์-กรกฎาคม) ประเพณีสงกรานต์ (เมษายน) ประเพณีแห่เทียนพรรษา (กรกฎาคม) ประเพณีเรียกขวัญข้าว (สิงหาคม) ประเพณีออกพรรษา (ตุลาคม) ประเพณีตานข้าวใหม่ (ตุลาคม) ส่วนพิธีกรรมที่สำคัญ อาทิ 1.”ถางซีไกงย” หรือ พิธีขับไล่สิ่งชั่วร้ายโรคภัยไข้เจ็บออกจากหมู่บ้าน พิธีกรรมและความเชื่อของกระเหรี่ยงมีอยู่หลายพิธีกรรมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา พิธีกรรม “ถางซีไกงย” เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่ชาวกะเหรี่ยงให้ความสำคัญอันเนื่องมาจากความเชื่อว่า หากชาวบ้านเจ็บป่วยพร้อมกันหลายๆ คน โดยไม่รู้สาเหตุของอาการป่วยนั้น และหรือความเชื่อที่ว่ามีสิ่งอัปมงคลเข้ามาในหมู่บ้าน ยกตัวอย่างเช่น หากไก่ป่าบินเข้ามาในหมู่บ้านก็จะเชื่อว่าเป็นลางไม่ดี …
ประเพณีและวัฒนธรรมไทเขิน
ชุมชนชาติพันธุ์ไทเขิน (ไตเขิน) บ้านเหล่าพัฒนา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย วัฒนธรรมประเพณี พิธีกรรมต่างๆของชาวไทเขินในรอบหนึ่งปีจะสัมพันธ์กับความเชื่อทางพุทธศาสนาและความเชื่อเรื่องผีโดยมีประเพณีพิธีกรรมตามรอบปฏิทินคล้ายคลึงกับชาวไต/ไทกลุ่มต่างๆ เช่นไทยวน ไทลื้อไทยอง เป็นต้น ดังนี้ เดือน 1 หรือเดือนเกี๋ยง (ตุลาคม–พฤศจิกายน) ประเพณีตานเทียน 1,000 เล่ม ตานต้นเกี๊ยะ จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 หรือเดือนก๋ำ (พฤศจิกายน–ธันวาคม) ประเพณีตานสลากภัทร ตักบาตร งานกฐิน และประเพณีเข้ากรรม มีสองอย่างคือการเข้าก๋ำหลวงหรือการเข้าปริวาสกรรม มีกำหนด 10 วัน ระหว่าง วันขึ้น 5 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ กับการเข้าก๋ำน้อยหรือการเข้ารุกขมูลกรรมมีกำหนด 7 วัน ไม่ถือวัตรปฏิบัติเคร่งครัดเหมือนเข้าก๋ำหลวง ส่วนมากจะนิยมจัดการเข้าก๋ำหลวง เดือน 3 (ธันวาคม–มกราคม) มีประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ เดือน 4 (มกราคม–กุมภาพันธ์) มีประเพณีตานธรรมน้ำอ้อย …
ประเพณี พิธีกรรมชาติพันธุ์บีซู
ชุมชนชาติพันธุ์บีซูบ้านดอยชมภู ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย 1 อาหาร ข้าวสวย (ข้าวไร่) พันธุ์ข้าว เช่น ข้าวเลเพโต๊ะ ข้าวเป้ซาเรีย ข้าวเปโจ ข้าวเปซ้าด่า และข้าวพันธุ์แปลเรีย เป็นต้น ส่วนกับข้าวจำพวกผัก เนื้อ เครื่องเทศ รสชาติไม่เผ็ด 2 อาหาร ข้าวสวย (ข้าวไร่) พันธุ์ข้าว เช่น ข้าวเลเพโต๊ะ ข้าวเป้ซาเรีย ข้าวเปโจ ข้าวเปซ้าด่า และข้าวพันธุ์แปลเรีย เป็นต้น ส่วนกับข้าวจำพวกผัก เนื้อ เครื่องเทศ รสชาติไม่เผ็ด 3 อาหาร ข้าวสวย (ข้าวไร่) พันธุ์ข้าว เช่น ข้าวเลเพโต๊ะ ข้าวเป้ซาเรีย ข้าวเปโจ ข้าวเปซ้าด่า และข้าวพันธุ์แปลเรีย เป็นต้น ส่วนกับข้าวจำพวกผัก เนื้อ เครื่องเทศ รสชาติไม่เผ็ด 4 อาหาร ข้าวสวย …
“ลาบพริก” บีซู
ชุมชนชาติพันธุ์บีซูบ้านดอยชมภู ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ลาบพริก บีซู อาหารของชาวบีซู วัฒนธรรมอาหารของชาวบีซูนั้น จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารของสื่อพื้นบ้านชาติพันธุ์บีซู โดยอาหารที่ชาวบีซูหยิบยกขึ้นมานำเสนอว่าเป็นอัตลักษณ์ของตนเองคือ “ลาบพริก”เป็นชื่ออาหารชาติพันธุ์ของบีซู มีลักษณะคล้ายน้ำพริกหนุ่มแต่มีรสชาติเผ็ดซึ่งลาบพริกเป็นภูมิปัญญาที่ชาวบีซู ได้คิดค้นขึ้น จากการดำรงชีวิตประจำวันต้องออกไปทำไร่ ทำสวน จึงหาวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่อยู่ในท้องถิ่นที่หาได้ง่ายมาประกอบอาหารซึ่งลาบพริกประกอบด้วยสมุนไพรนานาชนิดและมีวิธีทำทีไม่เหมือนกับอาหารประเภทชนิดอื่นๆ จึงเป็นอาหารที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงของชุมชนและเป็นเมนูอาหารที่ชาวบีซูภาคภูมิใจ ลาบพริกประกอบด้วยสมุนไพร นานาชนิดและมีวิธีทำที่ไม่เหมือนกับอาหารประเภทชนิดอื่นๆ จึงเป็นอาหารที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงของชุมชนและเป็นเมนูอาหารที่ชาวบีซู ภาคภูมิใจ โดย ส่วนผสม ประกอบด้วยยอดผักไผ่ ยอดส้มป่อย ตะไคร้ ใบหอมแป้น พริก ขิง ปลาแห้ง เกลือป่น วิธีทำนำกระบอกไม้ไผ่มาแทนเขียง แล้วใส่พริก ปลาแห้ง ยอดผักไผ่ ส้มป่อย ใบหอมแป้น ตะไคร้ ขิง นำมาสับรวมกันให้ละเอียด ใส่เกลือป่านเล็กน้อย สับผสมให้เข้ากันอัตลักษณ์อยู่ที่วิธีการลาบหรือการสับ จะทำในกระบอกไม้ไผ่ เพื่อกันพริกหรือผักต่างๆกระเด็น และทำให้ดึงกลิ่นหอมของอาหารขึ้น เป็นเมนูอาหารสุขภาพที่มักรับประทานกันในมื้อกลางวันของครอบครัวหรือในงานเกี่ยวข้าวของชุมชน แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประวัติชุมชนชาติพันธุ์บีซูบ้านดอยชมภู แกลเลอรี่ชาติพันธุ์บีซู ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์บีซู หมวดหมู่: ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | …
เอกลักษณ์การแต่งกายที่โดดเด่นของชาวปกาเกอะญอ
ชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอบ้านห้วยบง ตำบลวัดจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่การแต่งกาย เป็นสื่อพื้นบ้านที่แสดงออกถึงรูปแบบอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ปรากฎให้เห็นจากภายนอกผ่านเครื่องแต่งกายทั้งชายและหญิง โดยการแต่งกายของชายสมัยก่อนจะสวมเสื้อทรงกระบอกยาวเหมือนหญิงสาว แต่จะเป็นสีขาวปนแดงซึ่งทำมาจากสีธรรมชาติ ภายหลังการแต่งกายของชายจะมีอยู่ 2 ท่อน ท่อนบนจะเป็นเสื้อทอสีแดง ท่อนล่างจะเป็นกางเกงสีดำหรือกางเกงสะดอ คาดศีรษะด้วยผ้าสีแดงหรือสีขาว ส่วนผู้หญิงการแต่งกายจะแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ 1) เด็กหญิงและหญิงสาวพรหมจรรย์จะแต่งกายเป็นชุดทรงกระบอกสีขาว เป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์สาวโสดยังไม่ได้แต่งงาน ตามจารีตของปกาเกอะญอผู้ที่ยังมิได้แต่งงานจะสวมชุดขาวและไม่สามารถที่จะไปแต่งชุดสตรีที่แต่งงานแล้วได้เด็ดขาด หากมีหนุ่มสาวประพฤติผิดประเวณีก่อนแต่งงาน ผู้อาวุโสจะรีบจัดการให้มีการทำพิธีขอขมาเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ หรือเรียกกันว่า “ต่าทีต่าเต๊าะ” แล้วจัดการให้แต่งงานโดยเร็วที่สุดมิเช่นนั้นคนในชุมชนจะเกิดล้มป่วยไม่สบาย หรือทำมาหากินไม่ขึ้น ไม่ได้ผล สัตว์เลี้ยงจะล้มตาย เป็นต้น 2) การแต่งกายด้วยชุดขาวจะสิ้นสุดลงเมื่อแต่งงาน หญิงอยู่ในสถานภาพแต่งงานแล้ว จะแต่งตัวแบ่งออกเป็น 2 ท่อน ท่อนบนจะเป็นเสื้อดำประดับด้วยลูกเดือย นุ่งซิ่นสีแดงมีลวดลายที่ทำมาจากสีธรรมชาติเรียกว่า “หนี่คิ” ผู้ที่มีสถานภาพเป็นแม่บ้านแล้ว ห้ามมิให้กลับไปแต่งชุดสีขาวเป็นอันขาด แม้ว่าสามีจะเสียชีวิตหรือหย่าร้างกันไปแล้วก็ตาม แม้แต่จะลองแต่งชุดสาวโสดก็ไม่ได้เพราะชุดขาวจะใส่ได้เฉพาะผู้ที่เป็นสาวโสดเท่านั้น นอกจากนี้การใช้ผ้าโพกศีรษะของผู้หญิงปกาเกอะญอในสมัยก่อนจะทอด้วยผ้าฝ้ายพื้นสีขาวเดินด้วยลายสีแดง มีปล่อยชายผ้าทั้งสองข้างยาวประมาณ 1 คืบ หรือจะเป็นผ้าฝ้าย ทั้งสาวโสดและหญิงที่แต่งงานแล้วจะโพกหัวเหมือนกัน แต่ปัจจุบันมักใช้ผ้าโพกหัวกันหลากหลาย ทั้งผ้าทอและหาซื้อจากตลาด บางครั้งเป็นผ้าขนหนูก็มี หญิงในอดีตจะใส่ตุ้มหูขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “หน่าดิ” มีการใส่สร้อยคอลูกปัดสีต่างๆที่คอ มีการคลุมแขนและขาด้วยที่เรียกว่า …