ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ลักษณะ และการจัดประเภทดนตรี ดนตรีของกลุ่มชาติติพันธุ์กะเหรี่ยงมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมชาติ การดำเนินวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนความเชื่อด้านต่างๆเป็นภูมิปัญญาที่สืบสานส่งผ่านมาจวบจน ปัจจุบันนี้บางสิ่งบางอย่างหายไปบางสิ่งบางอย่างพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยกาลเวลาด้วยความที่ประชากรชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีความหลากหลายแตกออกไปเป็นกลุ่มตามความเชื่อแต่สิ่งที่ยังคงความสามารถใช้ด้วยกันได้คือภาษาและดนตรี ดนตรีของกะเหรี่ยงมีลักษณะดนตรีตามชนิดเครื่องดนตรีและยังไม่นิยมนำมารวมวงการอย่างชัดเจน ดนตรีของกะเหรี่ยงออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) เตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องสายประเภทดีดเพื่อให้เกิดเสียง แล้วจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทพิณคอโค้งเตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีที่กลุ่มชาติติพันธุ์กะเหรี่ยงให้ความสำคัญ และเป็นที่นิยมมากสามารถเล่นได้ บรรเลงประกอบการขับร้องหรือเรียกว่า เตหน่ากู ปาซาวิ หมายถึง การร้องเพลงโดยมีการบรรเลงเตหน่ากู คลอประกอบการร้อง ไปด้วยกันปัจจุบันมีการพัฒนาเรื่องการตั้งเสียงให้เข้ากับระดับเสียงเครื่องดนตรีสากลเพื่อสามารถนำเตหน่ากู ไปบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากลหรือบรรเลงร่วมกับวงดนตรีสมัยนิยมจนได้รับความนิยมชื่นชอบ และกลับมาให้ ความสนใจฝึกหัดการอย่างแพร่หลายในกลุ่มเยาวชนกะเหรี่ยง เตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีที่มีลำตัว ทำจากไม้เนื้อแข็ง นิยมไม้ซ้อ โดยมีส่วนประกอบของเครื่องได้แก่ตัวเครื่องมีลักษณะเป็นกล่องเสียง ขนาดเฉพาะส่วนกล่องเสียงกว้างประมาณ 15 เซ็นติเมตร ยาว 32 เซ็นติเมตรและสูง 12 เซ็นติเมตร ส่วนคอเครื่องทำจากไม้ชนิดเดียวกัน กลับตัวเครื่อง ด้วยคอเครื่องจะมีลักษณะโค้งขายคันธนูชาวกะเหรี่ยงกล่าวว่าเป็นลักษณะโค้งงอคล้ายหลังของผู้สูงอายุ ส่วนคอเครื่องนี้จะเจาะรูสำหรับใส่ลูกบิดเรียงกันขึ้นไปสำหรับใส่สาย ได้ตั้งแต่ 7-12 รู ส่วนข้อเครื่องนี้จะมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดกว้างประมาณ 5 เซ็นติเมตร ยาว 56 …