ชาติพันธุ์

“ลาบพริก” บีซู

ชุมชนชาติพันธุ์บีซูบ้านดอยชมภู ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ลาบพริก บีซู อาหารของชาวบีซู วัฒนธรรมอาหารของชาวบีซูนั้น จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารของสื่อพื้นบ้านชาติพันธุ์บีซู โดยอาหารที่ชาวบีซูหยิบยกขึ้นมานำเสนอว่าเป็นอัตลักษณ์ของตนเองคือ “ลาบพริก”เป็นชื่ออาหารชาติพันธุ์ของบีซู มีลักษณะคล้ายน้ำพริกหนุ่มแต่มีรสชาติเผ็ดซึ่งลาบพริกเป็นภูมิปัญญาที่ชาวบีซู ได้คิดค้นขึ้น จากการดำรงชีวิตประจำวันต้องออกไปทำไร่ ทำสวน จึงหาวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่อยู่ในท้องถิ่นที่หาได้ง่ายมาประกอบอาหารซึ่งลาบพริกประกอบด้วยสมุนไพรนานาชนิดและมีวิธีทำทีไม่เหมือนกับอาหารประเภทชนิดอื่นๆ จึงเป็นอาหารที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงของชุมชนและเป็นเมนูอาหารที่ชาวบีซูภาคภูมิใจ ลาบพริกประกอบด้วยสมุนไพร นานาชนิดและมีวิธีทำที่ไม่เหมือนกับอาหารประเภทชนิดอื่นๆ จึงเป็นอาหารที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงของชุมชนและเป็นเมนูอาหารที่ชาวบีซู ภาคภูมิใจ โดย ส่วนผสม ประกอบด้วยยอดผักไผ่ ยอดส้มป่อย ตะไคร้ ใบหอมแป้น พริก ขิง ปลาแห้ง เกลือป่น วิธีทำนำกระบอกไม้ไผ่มาแทนเขียง แล้วใส่พริก ปลาแห้ง ยอดผักไผ่ ส้มป่อย ใบหอมแป้น ตะไคร้ ขิง นำมาสับรวมกันให้ละเอียด ใส่เกลือป่านเล็กน้อย สับผสมให้เข้ากันอัตลักษณ์อยู่ที่วิธีการลาบหรือการสับ จะทำในกระบอกไม้ไผ่ เพื่อกันพริกหรือผักต่างๆกระเด็น และทำให้ดึงกลิ่นหอมของอาหารขึ้น เป็นเมนูอาหารสุขภาพที่มักรับประทานกันในมื้อกลางวันของครอบครัวหรือในงานเกี่ยวข้าวของชุมชน แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประวัติชุมชนชาติพันธุ์บีซูบ้านดอยชมภู แกลเลอรี่ชาติพันธุ์บีซู ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์บีซู หมวดหมู่:  ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | …

“ลาบพริก” บีซู Read More »

เอกลักษณ์การแต่งกายที่โดดเด่นของชาวปกาเกอะญอ

ชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอบ้านห้วยบง ตำบลวัดจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่การแต่งกาย เป็นสื่อพื้นบ้านที่แสดงออกถึงรูปแบบอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ปรากฎให้เห็นจากภายนอกผ่านเครื่องแต่งกายทั้งชายและหญิง โดยการแต่งกายของชายสมัยก่อนจะสวมเสื้อทรงกระบอกยาวเหมือนหญิงสาว แต่จะเป็นสีขาวปนแดงซึ่งทำมาจากสีธรรมชาติ ภายหลังการแต่งกายของชายจะมีอยู่ 2 ท่อน ท่อนบนจะเป็นเสื้อทอสีแดง ท่อนล่างจะเป็นกางเกงสีดำหรือกางเกงสะดอ คาดศีรษะด้วยผ้าสีแดงหรือสีขาว ส่วนผู้หญิงการแต่งกายจะแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ 1) เด็กหญิงและหญิงสาวพรหมจรรย์จะแต่งกายเป็นชุดทรงกระบอกสีขาว เป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์สาวโสดยังไม่ได้แต่งงาน ตามจารีตของปกาเกอะญอผู้ที่ยังมิได้แต่งงานจะสวมชุดขาวและไม่สามารถที่จะไปแต่งชุดสตรีที่แต่งงานแล้วได้เด็ดขาด หากมีหนุ่มสาวประพฤติผิดประเวณีก่อนแต่งงาน ผู้อาวุโสจะรีบจัดการให้มีการทำพิธีขอขมาเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ หรือเรียกกันว่า “ต่าทีต่าเต๊าะ” แล้วจัดการให้แต่งงานโดยเร็วที่สุดมิเช่นนั้นคนในชุมชนจะเกิดล้มป่วยไม่สบาย หรือทำมาหากินไม่ขึ้น ไม่ได้ผล สัตว์เลี้ยงจะล้มตาย เป็นต้น 2) การแต่งกายด้วยชุดขาวจะสิ้นสุดลงเมื่อแต่งงาน หญิงอยู่ในสถานภาพแต่งงานแล้ว จะแต่งตัวแบ่งออกเป็น 2 ท่อน ท่อนบนจะเป็นเสื้อดำประดับด้วยลูกเดือย นุ่งซิ่นสีแดงมีลวดลายที่ทำมาจากสีธรรมชาติเรียกว่า “หนี่คิ” ผู้ที่มีสถานภาพเป็นแม่บ้านแล้ว ห้ามมิให้กลับไปแต่งชุดสีขาวเป็นอันขาด แม้ว่าสามีจะเสียชีวิตหรือหย่าร้างกันไปแล้วก็ตาม แม้แต่จะลองแต่งชุดสาวโสดก็ไม่ได้เพราะชุดขาวจะใส่ได้เฉพาะผู้ที่เป็นสาวโสดเท่านั้น นอกจากนี้การใช้ผ้าโพกศีรษะของผู้หญิงปกาเกอะญอในสมัยก่อนจะทอด้วยผ้าฝ้ายพื้นสีขาวเดินด้วยลายสีแดง มีปล่อยชายผ้าทั้งสองข้างยาวประมาณ 1 คืบ หรือจะเป็นผ้าฝ้าย ทั้งสาวโสดและหญิงที่แต่งงานแล้วจะโพกหัวเหมือนกัน แต่ปัจจุบันมักใช้ผ้าโพกหัวกันหลากหลาย ทั้งผ้าทอและหาซื้อจากตลาด บางครั้งเป็นผ้าขนหนูก็มี หญิงในอดีตจะใส่ตุ้มหูขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “หน่าดิ” มีการใส่สร้อยคอลูกปัดสีต่างๆที่คอ มีการคลุมแขนและขาด้วยที่เรียกว่า …

เอกลักษณ์การแต่งกายที่โดดเด่นของชาวปกาเกอะญอ Read More »

การแสดงกับชุมชนชาติพันธุ์บีซู

ชุมชนชาติพันธุ์บีซูบ้านดอยชมภู ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย 1 อาหาร ข้าวสวย (ข้าวไร่) พันธุ์ข้าว เช่น ข้าวเลเพโต๊ะ ข้าวเป้ซาเรีย ข้าวเปโจ ข้าวเปซ้าด่า และข้าวพันธุ์แปลเรีย เป็นต้น ส่วนกับข้าวจำพวกผัก เนื้อ เครื่องเทศ รสชาติไม่เผ็ด 2 อาหาร ข้าวสวย (ข้าวไร่) พันธุ์ข้าว เช่น ข้าวเลเพโต๊ะ ข้าวเป้ซาเรีย ข้าวเปโจ ข้าวเปซ้าด่า และข้าวพันธุ์แปลเรีย เป็นต้น ส่วนกับข้าวจำพวกผัก เนื้อ เครื่องเทศ รสชาติไม่เผ็ด แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประวัติชุมชนชาติพันธุ์บีซูบ้านดอยชมภู แกลเลอรี่ชาติพันธุ์บีซู ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์บีซู หมวดหมู่:  ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน 

อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมของชุมชนชาติพันธุ์ปะโอ

ชุมชนชาติพันธุ์ปะโอบ้านห้วยขาน ตำบลหมอกจามแป๋ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนสื่อพื้นบ้าน สำหรับสื่อพื้นบ้านนั้นแฝงฝังอยู่ในมิติทางสังคม วัฒนธรรมของชาวปะโอ ซึ่งมีการยึดมั่นและให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสานในวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองอย่างเหนียวแน่น โดยยึดถือตามบ่อเกิดประเพณี 12 เดือน ที่อยู่ในปั๊บสาโบราณที่มีชื่อว่า “ต๊ะ ซะ นิด หย่า สี่ ซิบ สอง เหลิน ซาก เส่ อู ต่าน”อันประกอบไปด้วยเดือนเจ๋ง หรือเดือน 1 ประเพณีตานข้าวใหม่ ก้าบซอมอู (การตำข้าวปุก) เดือนก๋ำ หรือเดือน 2 ประเพณีการเข้าปริวาสกรรมและมานัต เดือน 3 ประเพณีตานข้าวหย่ากู้ และปอยหลู่หลัว เดือน 4 ประเพณีปอยส่างลอง เดือนนี้เป็นเดือนพิเศษสำหรับชาวปะโอซึ่งจะถือเอาวันเพ็ญเดือน 4 เป็นวันรำลึกบรรพชน ที่เรียกว่า “แด่นซีหล่าบ่วย” จะมีกิจกรรมพิเศษสำหรับเครือข่ายปะโอทั้งหมดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เดือน 5 ปอยซอนน้ำ (ปอยเหลินห้า) เดือน 6 ปอยจ่าตี่ ต่างซอมต่อโหลง เดือน …

อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมของชุมชนชาติพันธุ์ปะโอ Read More »

วัฒนธรรมชาติพันธุ์ไทเขิน

ชุมชนชาติพันธุ์ไทเขิน (ไตเขิน) บ้านเหล่าพัฒนา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ชาวไทเขิน มีวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมต่างๆที่ปฏิบัติตามปฏิทินในรอบปีหมุนเวียนเป็นวัฏจักรซึ่งเป็นกระบวนการสืบทอดและการกล่อมเกลาทางสังคมในกับคนรุ่นสู่รุ่น อย่างไรก็ตามในแง่ของวิถีชีวิตแล้วสิ่งเหล่านี้ยังเชื่อมโยงถักทอเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นสื่อพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธืไทเขินที่แสดงออกมาในรูปแบบต่างๆในวิถีชีวิตประจำวัน เช่น การแต่งกาย การเย็บปักถักร้อย งานหัตถกรรม จักสาน ประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ การแสดงที่เป็นศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากบรรพชน เช่น ดนตรีและเครื่องดนตรี การฟ้อนรำ เป็นต้น รวมถึงวัฒนธรรมการบริโภคที่ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของการประกอบและปรุงแต่งอาหารที่มีอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเอง เช่น ข้าวซอยน้อย ข้ามแรมฟืน ข้าวซอยคั่ว ข้าวซอยเหลือง เป็นต้น ตัวอย่างวัฒนธรรมอาหารที่ชาวไทเขินที่เป็นสื่อพื้นบ้านที่บ่งบอกอัตลักษณ์ไทเขิน ได้แก่ ข้าวแรมฟืนเป็นอาหารที่ทำมาจากการนำเอาข้าวโม่ละเอียดแล้วนำไปกวนกับน้ำปูนใสจนสุกจากนั้นตักใส่ถาดรอจนแข็งตัวจึงตัดแบ่งเป็นท่อนเล็กๆผสมกับเครื่องปรุงที่เติมลงไปรับประทาน ซึ่งจะมีสองแบบคือถ้ามีเฉพาะข้าวอย่างเดียวเรียกว่าข้าวแรมฟืน แต่หากมีการผสมถั่วลันเตาหรือถั่วลิสงต้มสุกพร้อมกับข้าวจะได้สีเหลืองหรือม่วงอ่อนเรียกข้าวฟืนถั่ว อีกเมนูหนี่งที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทเขินคือข้าวซอยซึ่งมีสองอย่างคือข้าวซอยน้อยมีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ ใช้แป้งข้าวที่บดละเอียดนำมาประกอบอาหารให้เป็นแผนแล้วม้วนหรือห่อหุ้มเครื่องปรุงที่มีเนื้อหมูผัดผสมเครื่องปรุงและนำมารับประทาน ส่วนอีกอันหนึ่งคือข้าวซอยน้ำคั่วเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวในน้ำซุปกระดูกใส่มะเขือเทศ โดยมีการราดด้วยน้ำแกงที่เรียกว่าน้ำหน้าที่ปรุงมาจากพริก หมู เครื่องเทศต่างๆราดลงไป เป็นความเฉพาะที่ชาวไทเขินมักจะปรุงเพื่อรับรองแขกที่มาเยี่ยมเยือน รวมถึงการทำไว้รับทานเองและเมื่อมีงานเทศกาลต่างๆ สื่อพื้นบ้านที่เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของชาวไทเขินยังปรากฏและแสดงออกในเครื่องแต่งกาย ลักษณะการแต่งกายเป็นสื่อที่แสดงความเป็นอัตลักษณ์ของไทเขินที่ทำให้เห็นความแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ผู้หญิงไทเขินจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ถูกตัดและออกแบบมาเป็นเอกลักษณ์ เสื้อจะไม่มีปกแต่จะใช้เชือกหรือเกลียวด้ายผูกที่เอวรัดรูป ชายเสื้อตรงเอวจะกางออกนิยมใช้ผ้าสีชมพูอ่อนโพกหัวและนุ่งซิ่นที่มีสีสันลวดลายของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองโดยเฉพาะลายปักบัวคว่ำบัวหงาย ส่วนผู้ชายจะสวมใส่เสื้อแขนสามส่วน ที่แต่เดิมนั้นจะทอมาจากผ้าฝ้าย ผ้าโพกหัวจะนิยมใช้สีขาวหรือสีครีม สวมใส่กางเกงสะดอ ส่วนเสื้อผู้ชายจะมีลักษณะคอกลม เป็นเสื้อผ่าหน้าใช้กระดุม แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประวัติชุมชนชาติพันธุ์ไทเขินบ้านเหล่าพัฒนา …

วัฒนธรรมชาติพันธุ์ไทเขิน Read More »

การแต่งกายของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดง

ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดงบ้านห้วยเสือเฒ่า ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน การแต่งกาย สื่อพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงแดงจะแฝงฝังในสังคม วัฒนธรรมที่มีการปฏิบัติสืบทอดต่อๆกันมา อย่างเช่นการแต่งกาย จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เข้าสู่ชุมชนทำให้การแต่งกายได้มีการปรับตัวเปลี่ยนไปตามยุคสมัยทำให้การแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ภายในหมู่บ้านมีการประยุกต์และปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยใหม่ อย่างไรก็ตามการแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงแดงแต่ยังคงเอกลักษณ์ของชนเผ่าไว้นั่นคือการทอผ้า และมีการแต่งกายชุดชาติพันธุ์ในเทศกาลหรืองานพิธีสำคัญต่างๆ โดยส่วนใหญ่แล้วทั้งชาวกะเหรี่ยงแดงและกะเหรี่ยงคอยาวจะทำการทอผ้าเองเพื่อนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม การแต่งกายชุดชาติพันธุ์ของชาวกะเหรี่ยงแดง ผู้ชายจะสวมเสื้อแขนสั้นสีแดง กางเกงขาก๊วยสีแดง และมีผ้าโผกศรีษะสีแดงทั้งผู้ชายและผู้หญิง เรียกว่า “โกะโทะ” ส่วนผู้หญิงจะสวมผ้าทรงปาดไหลสีแดง เรียกว่า “โบ๊ะฉะ” นุ่งผ้าถุงสีแดงทอลายสลับสีดำ เรียกว่า “กิบอชะ” มีผ้าคาดเอวสีขาวเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “แซแหระ” และสวมยางรักที่เข่า เรียกว่า “แข่โบ๊ะ” ซึ่งจะแตกต่างจากการต่างกายชุดชาติพันธุ์ของชาวกะเหรี่ยงคอยาว ผู้ชายจะสวมเสื้อแขนสั้นสีขาว กางเกงขาก๊วยสีดำ และมีผ้าโพกศรีษะสีขาว ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อแขนสั้นสีขาว ผ้าถุงสีดำทอลายสีต่างๆตรงชายผ้าถุง สวมห่วงทองเหลืองที่คอ เรียกว่า “ตือกะบ้อ” สวมผ้าพันหัว เรียกว่า “กะเก้า” และสวมห่วงทองเหลืองที่เข่า เรียกว่า “ตึ่งลอ” แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประวัติชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดงบ้านห้วยเสือเฒ่า แกลเลอรี่ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดง ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดง หมวดหมู่:  ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | …

การแต่งกายของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดง Read More »

ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ลักษณะ และการจัดประเภทดนตรี ดนตรีของกลุ่มชาติติพันธุ์กะเหรี่ยงมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมชาติ การดำเนินวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนความเชื่อด้านต่างๆเป็นภูมิปัญญาที่สืบสานส่งผ่านมาจวบจน ปัจจุบันนี้บางสิ่งบางอย่างหายไปบางสิ่งบางอย่างพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยกาลเวลาด้วยความที่ประชากรชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีความหลากหลายแตกออกไปเป็นกลุ่มตามความเชื่อแต่สิ่งที่ยังคงความสามารถใช้ด้วยกันได้คือภาษาและดนตรี ดนตรีของกะเหรี่ยงมีลักษณะดนตรีตามชนิดเครื่องดนตรีและยังไม่นิยมนำมารวมวงการอย่างชัดเจน ดนตรีของกะเหรี่ยงออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) เตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องสายประเภทดีดเพื่อให้เกิดเสียง แล้วจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทพิณคอโค้งเตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีที่กลุ่มชาติติพันธุ์กะเหรี่ยงให้ความสำคัญ และเป็นที่นิยมมากสามารถเล่นได้ บรรเลงประกอบการขับร้องหรือเรียกว่า เตหน่ากู ปาซาวิ หมายถึง การร้องเพลงโดยมีการบรรเลงเตหน่ากู คลอประกอบการร้อง ไปด้วยกันปัจจุบันมีการพัฒนาเรื่องการตั้งเสียงให้เข้ากับระดับเสียงเครื่องดนตรีสากลเพื่อสามารถนำเตหน่ากู ไปบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากลหรือบรรเลงร่วมกับวงดนตรีสมัยนิยมจนได้รับความนิยมชื่นชอบ และกลับมาให้ ความสนใจฝึกหัดการอย่างแพร่หลายในกลุ่มเยาวชนกะเหรี่ยง เตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีที่มีลำตัว ทำจากไม้เนื้อแข็ง นิยมไม้ซ้อ โดยมีส่วนประกอบของเครื่องได้แก่ตัวเครื่องมีลักษณะเป็นกล่องเสียง ขนาดเฉพาะส่วนกล่องเสียงกว้างประมาณ 15 เซ็นติเมตร ยาว 32 เซ็นติเมตรและสูง 12 เซ็นติเมตร ส่วนคอเครื่องทำจากไม้ชนิดเดียวกัน กลับตัวเครื่อง ด้วยคอเครื่องจะมีลักษณะโค้งขายคันธนูชาวกะเหรี่ยงกล่าวว่าเป็นลักษณะโค้งงอคล้ายหลังของผู้สูงอายุ ส่วนคอเครื่องนี้จะเจาะรูสำหรับใส่ลูกบิดเรียงกันขึ้นไปสำหรับใส่สาย ได้ตั้งแต่ 7-12 รู ส่วนข้อเครื่องนี้จะมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดกว้างประมาณ 5 เซ็นติเมตร ยาว 56 …

ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง Read More »

วัฒนธรรมอาหารที่โดดเด่นของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย อาหาร ในชีวิตประจำวันของชาวกะเหรี่ยงในอดีตคือข้าวกับพริกและเกลือ ชาวกะเหรี่ยงนิยมบริโภคอาหารที่มีรสเผ็ดจัด เช่น น้ำพริก แกงเผ็ด แกงส้ม ชาวกะเหรี่ยงจะปลูกพริกไว้ตามไร่สำหรับไว้กินเอง และพริกของชาวกะเหรี่ยง จะขึ้นชื่อในความเผ็ดร้อนกว่าพริกไหนๆ เครื่องแกงหลักประกอบด้วย พริก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กะปิ (ปลาร้า) ตำให้เข้ากัน แต่ถ้าเป็นแกงเผ็ดจะใช้เนื้อสัตว์กับมะเขือเป็นส่วนประกอบ เนื้อสัตว์ที่ใช้ในการปรุงอาหารจะเป็นจำพวกสัตว์ที่ล่าได้จากป่า เช่น เก้ง กวาง ค่าง กระต่าย แย้ ฯลฯ ถ้าเป็นแกงส้มก็ใช้เครื่องแกงเดียวกัน แต่ไม่นิยมใส่เนื้อสัตว์ แต่ใช้ผักที่มีรสเปรี้ยว ได้แก่ ใบกระเจี๊ยบป่า มะเขือส้ม ฯลฯ เพื่อช่วยในการปรุงรสอาหาร ส่วนน้ำพริกของคนกะเหรี่ยงมีปลาร้าหรือคนกะเหรี่ยงเรียกว่ากะปิ เป็นเครื่องปรุงสำคัญ นำมาตำกับพริกปรุงรสด้วยเกลือ กินกับผักสด ผักต้ม หรือผักเสี้ยนดอง อาหารของชาวกะเหรี่ยงจะไม่ปรุงรสหวาน เพราะไม่มีน้ำตาลใช้ ชาวกะเหรี่ยงจะกินผลไม้ที่ปลูกอยู่ในสวนภายในบ้านหรือที่มีอยู่ตามไร่ เช่น กล้วย อ้อย ส้มโอ ฯลฯ ส่วนขนมหวานของชาวกะเหรี่ยงจะมีเพียงข้าวห่อที่กินเฉพาะในงานพิธีเรียกขวัญของชาวกะเหรี่ยง หรือที่เรียกว่าประเพณีกินข้าวห่อ …

วัฒนธรรมอาหารที่โดดเด่นของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง Read More »

เครื่องแต่งกายของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย การแต่งกาย ชาวกะเหรี่ยงบ้านรวมมิตรนั้นปัจจุบันก็จะแต่งกายคล้ายคลึงคนพื้นราบทั่วไป ส่วนเครื่องแต่งกายประจำกลุ่มชาติพันธุ์นั้นจะนิยมใส่ในช่วงมีงานเทศกาลต่างๆ โดยผู้ชายนิยมใส่เสื้อแขนสั้น สีดำหรือแดง มีเชือกถักเป็นผู้รัดเอว สวมกางเกงสีดำขายาวแบบจีน ซึ่งเรียกว่า เตี่ยวสะดอ หรือบางครั้งก็สวมโสร่งแบบพม่า ใช้ผ้าโพกศีรษะสีต่างๆ แต่ในปัจจุบันกะเหรี่ยงผู้ชายหันมาสวมกางเกงขายาวแบบคนพื้นราบ ส่วนผู้หญิงซึ่งมีกฎข้อห้ามอยู่มาก จึงมีการแต่งกายที่แยกแยะออกไปอย่างชัดเจนระหว่างหญิงที่โสดและหญิงที่แต่งงานแล้ว แม่ถือประเพณีการแต่งกายอย่างเคร่งครัด โดยหญิงสาวโสดชาวกะเหรี่ยงมักจะสวมชุดกระโปรงทรงกระสอบสีขาว ลงไปถึงข้อเท้า เสื้อทรงกระบอก แขนสั้น คอเป็นรูปตัววี ถักด้ายสีแดงขลิบรอบคอเสื้อ พาลงไปถึงช่วงล่าง ระหว่างเอวจะทอด้วยผ้าสีแดงคาดเอาไว้คล้ายเข็มขัดส่วนใหญ่หญิงกะเหรี่ยงจะทอผ้าใช้เองโดยเครื่องมือแบบง่ายๆตามประเพณี        หญิงชาวกะเหรี่ยงนิยมไว้ผมยาวทำเป็นมวยพันด้วยด้ายสีหรือโพกผ้าเป็นสีเดียวกันกับเสื้อและกระโปรง ใส่ต่างหูเป็นรูปกลมมีพู่ห้อย นิยมพันคอด้วยเส้นด้ายและสร้อยลูกปัด หญิงกะเหรี่ยงบางกลุ่มจะแต่งกายด้วยสีแดงทั้งชุด จึงเรียกตนเองว่ายาแดงส่วนหญิงชาวกะเหรี่ยงที่แต่งงานแล้วจะไม่แต่งชุดสีขาวแต่จะสวมเสื้อคอวีสีดำสั้นแค่เอวชายเสื้อด้านล่างเย็บด้วยสีประดับลูกเดือยหรือลูกปัดสีขาว เป็นรูปตารางหมากรุกหรือรูปสีขาวๆส่วนผ้าซิ่นสีแดงหรือลายอื่นๆยาวถึงข้อเท้าและโพกศีรษะ เช่นเดียวกับหญิงโสดทั่วไป การแต่งกายของหญิงชาวกะเหรี่ยงโดยส่วนใหญ่มักจะแต่งกายตามประเพณีของเผ่าพันธุ์โดยไม่เลือกเวลาหมายถึงหญิงสาวโสดของชาวกะเหรี่ยงหรือหญิงสาวที่แต่งงานแล้วก็จะต้องแต่งกายตามประเพณีที่ระบุแยกออกมาได้อย่างชัดเจนตลอดเวลาด้วยเหตุนี้จึงสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนระหว่างหญิงกะเหรี่ยงที่สุดกับผู้ที่แต่งงานแล้ว แม้กระทั่งเด็กผู้หญิงก็มักจะแต่งตัวตามแบบอย่างหญิงโสด คือชุดขาวพรหมจารี กะเหรี่ยงมักจะถือในเรื่องชู้สาว และความบริสุทธิ์ของหญิงสาวเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะในอดีตการได้เสียก่อนแต่งงานจึงถือเป็นความผิดที่โทษถึงขั้นไล่ออกไปจากหมู่บ้าน แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประวัติชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร แกลเลอรี่ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาติพันธุ์กะเหรี่ยง หมวดหมู่:  ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน | …

เครื่องแต่งกายของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง Read More »

ผ้าทอของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ชาวกะเหรี่ยง นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวกะเหรี่ยงจะปลูกฝ้ายเอง นำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สร้างลวดลายด้วยการทอ การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวกะเหรี่ยง จะถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอ แก่บุตรสาอายุ 12-15 ปี เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้สำหรับลวดลายผ้าทอของชาวกะเหรี่ยงนั้น มีเรื่องราวเล่าสืบมาว่าได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย แต่ลายที่นิยมนำมาทอ และปัก มี 4 ราย คือ โยห่อกือ เกอเป่เผลอ ฉุ่ยข่อลอ อีกลายหนึ่ง คือ ลายทีข่า ปัจจุบัน ยังมีลายที่นิยมทอ คือ เกอแนเดอ หรือลายรังผึ้ง และเซอกอพอหรือลายดอกมะเขือ การทอผ้า เป็นวิถีอีกอย่างหนึ่งของชาวกะเหรี่ยงที่สืบทอดกันมายาวนาน เด็กผู้หญิงจะเรียนรู้จากแม่ แต่ปัจจุบันนี้มีระบบโรงเรียน เด็กๆต้องไปโรงเรียน ดังนั้นในช่วงปิดเทอมเด็กๆจึงรวมกลุ่มกันมาเรียนการทอผ้าสีในการย้อมและของตกแต่งผ้าทอกะเหรี่ยง การย้อมผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ ใช้เปลือกไม้ …

ผ้าทอของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง Read More »