ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ

ชุมชนชาติพันธุ์ลัวะบ้านสันเจริญ ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย     ดนตรีมีบทบาทต่อวิถีชีวิตลัวะในงานประเพณี พิธีกรรมต่างๆทั้งงานมงคล งานรื่นเริง งานฉลอมฉลอง เนื่องจากคนลัวะเชื่อว่าดนตรีเป็นเสียงแห่งความสุข ดังนั้นหากมีการนำดนตรีเข้ามาในงานมงคลงานรื่นเริงจะช่วยให้งานนั้นมีความสุขมากขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการบรรเลงประกอบการขับร้อง “จ่ายปลั่ง” บ่งบอกแหล่งที่มาของคนโดยการแสดงออกผ่านสำเนียงการขับร้องที่แบ่งออกเป็น สิบสองปันนา และสำเนียงลุ่มน้ำโขง เป็นบทเพลงลัวะที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิตของคนลัวะได้อย่างชัดเจน ผ่านการบอกเล่าเรื่องในอดีต การเดินทางแนแสนไกล การหาเลี้ยงครอบครัว และความอดทนต่อความลำบากที่ผ่านมาในอดีตได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันการขับร้องเพลงจ่ายปลั่ง ไม่ค่อยพบได้ทั่วไป แต่ยังคงมีการฟื้นฟูทางวัฒนธรรมของลัวะอย่างต่อเนื่อง โดยนักดนตรี และคนในชุมชนที่ร่วมมือกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลัวะให้ยั่งยืน ส่งผลให้ปัจจุบันการขับร้องเพลงจ่ายปลั่ง ยังคงมีการขับร้องกันอย่างมีความสุขในชุมชน เครื่องดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ได้แก่ 1) เซาะ (สะล้อ)     เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องสาย ประเภทเครื่องสีเพื่อให้เกิดเสียงโดยการใช้ไม้สี สภาพโดยทั่วไปของเซาะ มีลักษณะทางกายภาพ และรายละเอียดของเครื่องคือสะล้อ ที่ใช้ในวัฒนธรรมล้านนา ขนาดของเซาะ ส่วนกะโหลกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 เซ็นติเมตร หนา 8 เซ็นติเมตร ส่วนทันทวน กว้าง 2 เซ็นติเมตร ยาว 70 …

ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ Read More »