ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดง
ประวัติและความเป็นมา
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดง หรือกะแย (Kaya) บเว (Bwe) เป็นกลุ่มที่ถูกเรียชื่อว่า แบระ หรือปะแยะ เดิมอยู่ในรัฐกะแยในพม่า เรียกตามภาษาของเขาว่า“ฉั่ว” กะเหรี่ยงแดง หรือ บวอย หรือที่พี่น้องชาวไตใหญ่เรียกว่า ยางแดง เหตุที่เรียกเช่นนี้เนื่องจากชอบสวมชุดสีแดงมากกว่าสีอื่น พวกเขาเรียกตนเองว่า “กะแย” พม่าเรียกพวกเขาว่า “กะหยิ่นนี” จัดอยู่ในตระกูลทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) กะเหรี่ยงแดง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณดอยหง่วยต่องปี่ ซึ่งอยู่ค่อนมาทางใต้ของเมืองดอยก่อ รัฐคะยา สหภาพเมียนมาร์ ปัจจุบันเรียกว่า “ดิหม่อโส่” ในตำนานของกะเหรี่ยงแดงถือว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของนางนก หรือกินรี ซึ่งภาษากะเหรี่ยงแดงเรียกว่า “ดวยแม่น่อ”นางนกนี้มีร่างตอนบนเป็นหญิงสาวรูปงาม ลำตัวมีปีกมีหาง เท้าเป็นเท้านก มีชายหนุ่มต้นตระกูลของกะเหรี่ยงแดงไปพบเข้า เกิดรักใคร่เสน่หา ร่วมคู่เป็นสามีภรรยากัน มีบุตรหลานสืบต่อมาเป็นชาวกะเหรี่ยงแดง หรือ บวอย ตราบทุกวันนี้ กะเหรี่ยงแดงเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่ภาษาพูดคล้ายคลึงภาษายางกะเลอหรือกะเหรี่ยงกะเลอ โดยมากอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่ตามป่าในเขตพม่า ทางภาคเหนือของประเทศไทยมียางแดงอยู่ในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย และลำปาง
ข้อมูลเพิ่มเติม
หมวดหมู่: ชาติพันธุ์ | กิจกรรม | วันที่ | หมู่บ้าน | พิกัด