ชุมชนชาติพันธุ์ปะโอบ้านห้วยขาน

ชุมชนปะโอบ้านห้วยขานตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามทางหลวงแผ่นดิน 1095 แม่ฮ่องสอน-ปาย ถึงแยกทางหลวงชนบท 4001 มส ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร จากแยกทางหลวงชนบท 4001 มส ถึงบ้านห้วยขาน ประมาณ 20 กิโลเมตร

ประวัติ

บ้านห้วยขานตั้งชื่อตามลำน้ำห้วยขานซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ห้วยขานอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ถัดจากบ้านหมอกจำแป่และบ้านยอด อาณาเขตบ้านห้วยขานตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูง ล้อมรอบไปด้วยภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้สัก ไม้แดง ไม้ยาง มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีลำน้ำสำคัญไหลผ่าน ได้แก่ ลำน้ำแม่สะงา ลำน้ำห้วยขาน ลำน้ำห้วยอื้น และลำห้วยหมากขี ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ บ้านห้วยขานสามารถเดินทางจากตัวเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประชากร

ชุมชนปะโอห้วยขานเดิมนั้นมีชาวไตใหญ่จากรัฐฉานที่มาตั้งถิ่นฐานบ้านสองแคว ได้ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ประมาณ 30 ครัวเรือนอพยพมาตั้งถิ่นอยู่ที่นี่ก่อนชาวปะโอตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2450 ต่อมาปี พ.ศ.2524ชาวปะโอ หรือต่องสู่ ได้อพยพมาจากบ้านแม่ออ มาสมทบอีกประมาณ 33 ครัวเรือน และชาวจีนยูนนานอีก 2 ครัวเรือน โดยมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านกอง ปัจจุบันได้รวมเป็นหมู่บ้านเดียวกันเรียกว่าบ้านห้วยขาน มีกลุ่มชุมชนที่อยู่ทางด้านทิศเหนือซึ่งเป็นชาวปะโอ เรียกว่า ย่านบ้านกอง ทำให้บ้านห้วยขานในปัจจุบันมีกลุ่มชาติพันธุ์ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ไตใหญ่ และปะโอ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างผสมกลมกลืนทั้งวิถีชีวิตและวิถีวัฒนธรรม ซึ่งชาวปะโอเองก็มีประเพณีคล้ายคลึงกับชาวไตใหญ่ ยกเว้นวันเพ็ญเดือน 4 ของทุกปีจะถือเป็นวันสำคัญของชาวปะโอคือวันรำลึกบรรพชน ภาษาปะโอเรียกว่า “แด่นซีหล่าบ่วย” ชาวบ้านห้วยขานส่วนใหญ่มีอาชีพทำเกษตรกรรม เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน และหาของป่า บางส่วนไปทำงานรับจ้างในตัวเมืองทั้งในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและต่างจังหวัด โดยมีประชากรทั้งสิ้น 722 คน แยกเป็น ชาย 371 คน หญิง 351 คน

ด้านศาสนาและวัฒนธรรม

ด้านสังคม วัฒนธรรมมีการอนุรักษ์ สืบสานถ่ายทอด ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ชุมชนปางหมูยึดมั่นและให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอด ฟื้นฟู กิจกรรมประเพณีไต โดยยึดถือตามบ่อเกิดประเพณี 12 เดือน ที่อยู่ในปั๊บสาโบราณที่มีชื่อว่า “ต๊ะ ซะ นิด หย่า สี่ ซิบ สอง เหลิน ซาก เส่ อู ต่าน”อันประกอบไปด้วยเดือนเจ๋ง หรือเดือน 1 ประเพณีตานข้าวใหม่ ก้าบซอมอู (การตำข้าวปุก) เดือนก๋ำ หรือเดือน 2     ประเพณีการเข้าปริวาสกรรมและมานัต เดือน 3 ประเพณีตานข้าวหย่ากู้ และปอยหลู่หลัว เดือน 4 ประเพณีปอยส่างลอง เดือน 5 ปอยซอนน้ำ (ปอยเหลินห้า) เดือน 6 ปอยจ่าตี่ ต่างซอมต่อโหลง เดือน 7 ปอยเลี้ยงเมือง และวานปะลีก (ทำบุญสี่มุมเมือง) เดือน 8 ปอยเข้าหว่า (แห่เทียนเข้าพรรษา) ต่างซอมต่อโหลง เดือน 9 ปอยจ่าก้า และต่างซอมต่อโหลง เดือน 10 ปอยจ่าก้า และต่างซอมต่อโหลง เดือน 11 ปอยแฮนซอมโก่จา ปอยกาดพิ้ด ปอยจองพารา ปอยตักบาตรเทโวโรหณะ ปอยหลู่เตนเหง ปอยอ่องจ้อด หรือก๋อยจ้อด (หลู่ต้นเตน) เดือน 12   ปอยป๋ายหลอย ปอยลอยกระทง ปอยหวั่งกะป่า ปอยส่างกานกฐิน ปอยส่างกานคำ ปอยดับไฟเตน

พิกัด